เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 4. อาวาสิกวรรค 1. อาวาสิกสูตร
4. อาวาสิกวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาส
1. อาวาสิกสูตร
ว่าด้วยธรรมของเจ้าอาวาส
[231] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วย
ธรรม 5 ประการ เป็นผู้ไม่ควรยกย่อง
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
1. เป็นผู้ไม่เพียบพร้อมด้วยมรรยาท1 ไม่เพียบพร้อมด้วยวัตร
2. ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงสุตะ
3. เป็นผู้ไม่ประพฤติขัดเกลา ไม่ยินดีการหลีกเร้น
4. เป็นผู้ไม่ยินดีในกัลยาณธรรม ไม่มีวาจางาม ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะ
5. มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควร
ยกย่อง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เป็นผู้ควรยกย่อง
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
1. เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยมรรยาท เพียบพร้อมด้วยวัตร
2. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ

เชิงอรรถ :
1 ไม่เพียบพร้อมด้วยมรรยาท (อากัปปะ) หมายถึงมรรยาทของความเป็นสมณะ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/231/92)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :373 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 4. อาวาสิกวรรค 2. ปิยสูตร
3. เป็นผู้ประพฤติขัดเกลา ยินดีในการหลีกเร้น
4. เป็นผู้ยินดีในกัลยาณธรรม มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ
5. มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล เป็นผู้ควร
ยกย่อง
อาวาสิกสูตรที่ 1 จบ

2. ปิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รัก
[232] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อม
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
1. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษา
อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
2. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังธรรมทั้งหลายที่มีความ
งามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน
แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
3. เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะอันประกอบด้วยวาจาชาวเมือง
ที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้
4. เป็นผู้ได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :374 }