เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 2. อักโกสกวรรค 8. ทุติยอปาสาทิกสูตร
อานิสงส์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้
2. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ
3. กิตติศัพท์อันงามย่อมขจรไป
4. ไม่หลงลืมสติตาย
5. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้น่าเลื่อมใส มีอานิสงส์ 5 ประการนี้แล
ปฐมอปาสาทิกสูตรที่ 7 จบ

8. ทุติยอปาสาทิกสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส สูตรที่ 2
[218] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส มีโทษ 5 ประการนี้
โทษ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. คนที่ยังไม่เลื่อมใส ย่อมไม่เลื่อมใส
2. คนที่เลื่อมใสแล้วย่อมกลายเป็นอื่น
3. ไม่ปฏิบัติตนตามคำสอนของศาสดา
4. หมู่คนรุ่นหลัง1พากันตามอย่าง
5. จิตของเธอย่อมไม่เลื่อมใส2
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส มีโทษ 5 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้น่าเลื่อมใส มีอานิสงส์ 5 ประการนี้

เชิงอรรถ :
1 หมู่คนรุ่นหลัง หมายถึงสัทธิวิหาริก(ผู้อยู่ด้วย) เป็นคำเรียกผู้ได้รับอุปสมบทจากพระอุปัชฌาย์และ
อันเตวาสิก(ผู้อยู่ในสำนัก) มี 4 ประเภท คือ (1) ปัพพัชชันเตวาสิก (อันเตวาสิกในบรรพชา)
(2) อุปสัมปทันเตวาสิก (อันเตวาสิกในอุปสมบท) (3) นิสสยันเตวาสิก (อันเตวาสิกผู้ถือนิสสัย)
(4) ธัมมันเตวาสิก (อันเตวาสิกผู้เรียนธรรม) (องฺ.ทุก.อ. 2/45/53)
2 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉบับ “PALI TEXT SOCIETY” แปลว่า จิตของเขาไม่บรรลุความสุขสงบ
(One‘s heart wins not to peace) (The Book of the Gradual Sayings, VOL. III, P. 187)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :360 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 2. อักโกสกวรรค 9. อัคคิสูตร
อานิสงส์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. คนที่ยังไม่เลื่อมใส ย่อมเลื่อมใส
2. คนที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้น
3. ปฏิบัติตนตามคำสอนของศาสดา
4. หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่าง
5. จิตของเธอย่อมเลื่อมใส
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้น่าเลื่อมใส มีอานิสงส์ 5 ประการนี้แล
ทุติยอปาสาทิกสูตรที่ 8 จบ

9. อัคคิสูตร
ว่าด้วยโทษของไฟ
[219] ภิกษุทั้งหลาย ไฟมีโทษ 5 ประการ
โทษ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ทำให้ตาฝ้าฟาง
2. ทำให้ผิวหยาบกร้าน
3. ทำให้อ่อนกำลัง
4. เพิ่มพูนการคลุกคลีด้วยหมู่
5. เป็นเหตุให้สนทนาติรัจฉานกถา1
ภิกษุทั้งหลาย ไฟมีโทษ 5 ประการนี้แล
อัคคิสูตรที่ 9 จบ

เชิงอรรถ :
1 ติรัจฉานกถา หมายถึงถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์หรือนิพพาน ได้แก่ เรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็น
ข้อถกเถียงสนทนากัน เพราะทำให้เกิดฟุ้งซ่าน และหลงเพลินเสียเวลา (ที.สี.อ. 17/84)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :361 }