เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
3. ปัญจังคิกวรรค 8. ปัญจังคิกสูตร

4. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้สงบ ประณีต ได้ด้วยความ
สงบระงับ บรรลุได้ด้วยภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น และมิใช่บรรลุได้
ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยสสังขารจิต1’
5. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘เรามีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออก
จากสมาธินี้ได้’

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติ เจริญอัปปมาณ-
สมาธิเถิด เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติ เจริญอัปปมาณสมาธิอยู่
ญาณ 5 ประการนี้แล ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน

สมาธิสูตรที่ 7 จบ

8. ปัญจังคิกสูตร
ว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5

[28] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5
อันเป็นอริยะ2 เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจได้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
การเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 อันเป็นอริยะ อะไรบ้าง คือ

1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ
ปฐมฌาณที่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอทำกาย
นี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก ไม่มี
ส่วนไหน ๆ แห่งกาย ของเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก
จะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนานหรือลูกมือพนักงาน
สรงสนานผู้ฉลาด จะพึงใส่ผงสีตัวลงในภาชนะสำริดแล้วพรมด้วย
น้ำหมักไว้ ตกเวลาเย็นผงสีตัวจับตัวติดเป็นก้อน ไม่กระจายออก


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
3. ปัญจังคิกวรรค 8. ปัญจังคิกสูตร

ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ
ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่ง
กายของเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกจะไม่ถูกต้อง นี้
คือการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 อันเป็นอริยะ
ประการที่ 1

2. ภิกษุบรรลุทุติยฌาณที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป มีแต่ปีติ
และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบซาบซ่าน
ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือน
ห้วงน้ำลึกที่มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางไหลมาได้ทั้งในทิศตะวันออก ทิศใต้
ทิศตะวันตก ทิศเหนือ และฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำ
เย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ
ซึมซาบด้วยน้ำเย็น ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมดที่น้ำ
เย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมทำกายนี้ให้
ชุ่มชื่นอิ่มเอิบซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ไม่มีส่วน
ไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิจะ
ไม่ถูกต้อง นี้คือการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 อันเป็น
อริยะ ประการที่ 2

3. ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ
จางคลายไป บรรลุตติยฌาณที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มี
อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เธอทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบซาบซ่าน
ด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่สุขอันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนกออุบล กอบัว
หลวง หรือกอบัวขาวบางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ
ถูกน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มชื่นอิ่มเอิบซึมซาบด้วยน้ำเย็น
ตลอดยอด ตลอดเหง้า ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งดอกอุบล ดอกบัวหลวง
หรือดอกบัวขาวทั่วทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉัน
นั้น เหมือนกันแล ย่อมทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบซาบซ่านด้วยสุข
อันปราศจากปีติ ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขอัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :37 }