เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 2. อักโกสกวรรค 3. สีลสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล มีอานิสงส์ 5 ประการนี้
อานิสงส์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีโภคทรัพย์เป็น
อันมาก ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 1
ของบุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล
2. กิตติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลย่อมขจรไป
นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 2 ของบุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล
3. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล จะเข้าไปยังบริษัทใด ๆ จะเป็นขัตติย-
บริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัท
ก็ตาม ย่อมแกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 3
ของบุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล
4. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมไม่หลงลืมสติตาย นี้เป็น
อานิสงส์ประการที่ 4 ของบุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล
5. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 5 ของบุคคลผู้มีศีลเพราะ
สมบูรณ์ด้วยศีล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีลมีอานิสงส์ 5 ประการนี้แล
สีลสูตรที่ 3 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :356 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 2. อักโกสกวรรค 5. ปฐมอักขันติสูตร
4. พหุภาณิสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พูดมาก
[214] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พูดมาก1 มีโทษ 5 ประการนี้
โทษ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. พูดเท็จ 2. พูดส่อเสียด
3. พูดคำหยาบ 4. พูดเพ้อเจ้อ
5. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พูดมาก มีโทษ 5 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พูดด้วยมันตา2 มีอานิสงส์ 5 ประการนี้
อานิสงส์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ไม่พูดเท็จ 2. ไม่พูดส่อเสียด
3. ไม่พูดคำหยาบ 4. ไม่พูดเพ้อเจ้อ
5. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พูดด้วยมันตา มีอานิสงส์ 5 ประการนี้แล
พหุภาณิสูตรที่ 4 จบ

5. ปฐมอักขันติสูตร
ว่าด้วยความไม่อดทน สูตรที่ 1
[215] ภิกษุทั้งหลาย ความไม่อดทนมีโทษ 5 ประการนี้
โทษ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนหมู่มาก
2. เป็นผู้มากด้วยเวร3

เชิงอรรถ :
1 พูดมาก หมายถึงพูดไม่ประกอบด้วยปัญญา (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/214/89)
2 มันตา เป็นชื่อเรียกแทนปัญญา (องฺ.ปญฺจ.อ. 3/214/89)
3 มากด้วยเวร หมายถึงมีบุคคลผู้เป็นเวรต่อกันมาก มีการประพฤติอกุศลกรรมมาก (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/215/89)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :357 }