เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 1. กิมพิลวรรค 6. วินิพันธสูตร
4. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา ฯลฯ
5. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ(ความคิดประทุษร้าย)กระทบ มี
จิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธ ไม่พอใจ
มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายนั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อ
เนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ 5
ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู 5 ประการนี้แล
เจโตขิลสูตรที่ 5 จบ

6. วินิพันธสูตร
ว่าด้วยกิเลสเครื่องผูกใจ1
[206] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการนี้
กิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่
ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ
เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย2 จิตของภิกษุผู้ยัง

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ.ทสก. (แปล) 24/14/23-24, อภิ.วิ. (แปล) 35/941/594)
2 กามทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงวัตถุกามและกิเลสกาม (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/206/86)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :348 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 1. กิมพิลวรรค 6. วินิพันธสูตร
ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจาก
ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน
ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญ
เพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ 1 ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อม
ไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อ
บำเพ็ญเพียร
2. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาย1 ฯลฯ
3. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในรูป2 ฯลฯ
4. ฉันอาหารตามความต้องการจนอิ่มเกินไป ประกอบความสุขในการ
นอนความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ
5. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์3นี้ เราจักเป็นเทพเจ้า4
หรือเทพตนใดตนหนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วย

เชิงอรรถ :
1 กาย ในที่นี้หมายถึงนามกายของตน หรืออัตภาพของตน (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/206/86, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา
3/206-8/94)
2 รูป ในที่นี้หมายถึงร่างกายของผู้อื่น และรูปที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับอินทรีย์ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/206/86)
3 ศีล หมายถึงปาริสุทธิศีล 4 ประการ (คือ (1) ปาติโมกขสังวรศีล ศีลคือความสำรวมในพระปาติโมกข์
เว้นจากข้อห้าม ทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย (2) อินทรียสังวรศีล ศีลคือ
ความสำรวมอินทรีย์ ระวังไม่ให้บาปอกุศลครอบงำ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง 6 (3) อาชีวปาริสุทธิศีล
ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่ประกอบอเนสนามีหลอกลวงเขาเลี้ยงชีพเป็นต้น
(4) ปัจจัยสันนิสิตศีล ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัย 4 ได้แก่ ปัจจัยปัจจเวกขณะ คือพิจารณาใช้สอยปัจจัย 4 ให้
เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา (วิสุทธิ. 1/14-18/17-36)
วัตร หมายถึงวัตตสมาทาน การประพฤติข้อปฏิบัติ
ตบะ หมายถึงตปจรณะ (การประพฤติตบะ)
พรหมจรรย์ หมายถึงเมถุนวิรัติ (การงดเว้นจากการร่วมประเวณี) (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/206/86)
4 เทพเจ้า ในที่นี้หมายถึงเป็นเทวดาผู้มีศักดิ์หรือมีอำนาจมาก เทพตนใดตนหนึ่ง หมายถึงเทวดาผู้มีศักดิ์หรือ
มีอำนาจน้อย (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/206/86)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :349 }