เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 1. กิมพิลวรรค 3. อัสสาชานียสูตร
3. อัสสาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย1
[203] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์
5 ประการ ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะ
โดยแท้
องค์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความตรง
2. ความมีเชาว์
3. ความอ่อน
4. ความอดทน
5. ความเสงี่ยม
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ 5 ประการนี้แล ย่อมเป็น
ม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความตรง2
2. ความมีเชาว์3
3. ความอ่อน4

เชิงอรรถ :
1 ม้าอาชาไนย หมายถึงม้าที่เกิดในตระกูลม้าสินธพ หรือในตระกูลพญาม้าวลาหก (ขุ.ธ.อ. 154/105)
หรือหมายถึงม้าที่รู้เหตุที่ควรและไม่ควร (องฺ.ติก.อ. 2/143/273)และดู องฺ.ติก. (แปล) 20/97/330
2 ความตรงของม้า หมายถึงความไปได้ตรง ไปไม่คด ความตรงของพระ หมายถึงความมีญาณดำเนินไปตรง
(�าณสฺส อชุกคมนํ) (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/203-204/85)
3 ความมีเชาว์ของม้า หมายถึงมีฝีเท้าเร็ว (ปทชวะ) ความมีเชาว์ของพระ หมายถึงความมีญาณที่แกล้วกล้า
ดำเนินไป (สูรสฺส หุตฺวา �าณสฺส คมนภาโว) (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/203-204/85)
4 ความอ่อนของม้า หมายถึงร่างกายอ่อนนุ่ม (สรีรมุทุตา) ความอ่อนของพระ หมายถึงความอ่อนเพราะศีล
(สีลมัททวะ) (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/203-204/85)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :345 }