เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 1. กิมพิลวรรค 2. ธัมมัสสวนสูตร
กิมพิละ นี้แลเหตุปัจจัยให้สัทธรรมไม่ดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว” พระกิมพิละทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุปัจจัย
ให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว” พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า “กิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาใน
ธรรมวินัยนี้
1. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในศาสดา
2. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในธรรม
3. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสงฆ์
4. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา
5. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงกันและกัน
กิมพิละ นี้แลเป็นเหตุปัจจัยให้สัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว”
กิมพิลสูตรที่ 1 จบ

2. ธัมมัสสวนสูตร
ว่าด้วยการฟังธรรม
[202] ภิกษุทั้งหลาย การฟังธรรมมีอานิสงส์ 5 ประการนี้
อานิสงส์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
2. เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว
3. บรรเทาความสงสัยเสียได้
4. ทำความเห็นได้ตรง
5. จิตของผู้ฟังธรรมย่อมเลื่อมใส
ภิกษุทั้งหลาย การฟังธรรมมีอานิสงส์ 5 ประการนี้แล
ธัมมัสสวนสูตรที่ 2 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :344 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 1. กิมพิลวรรค 3. อัสสาชานียสูตร
3. อัสสาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย1
[203] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์
5 ประการ ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะ
โดยแท้
องค์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความตรง
2. ความมีเชาว์
3. ความอ่อน
4. ความอดทน
5. ความเสงี่ยม
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ 5 ประการนี้แล ย่อมเป็น
ม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความตรง2
2. ความมีเชาว์3
3. ความอ่อน4

เชิงอรรถ :
1 ม้าอาชาไนย หมายถึงม้าที่เกิดในตระกูลม้าสินธพ หรือในตระกูลพญาม้าวลาหก (ขุ.ธ.อ. 154/105)
หรือหมายถึงม้าที่รู้เหตุที่ควรและไม่ควร (องฺ.ติก.อ. 2/143/273)และดู องฺ.ติก. (แปล) 20/97/330
2 ความตรงของม้า หมายถึงความไปได้ตรง ไปไม่คด ความตรงของพระ หมายถึงความมีญาณดำเนินไปตรง
(�าณสฺส อชุกคมนํ) (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/203-204/85)
3 ความมีเชาว์ของม้า หมายถึงมีฝีเท้าเร็ว (ปทชวะ) ความมีเชาว์ของพระ หมายถึงความมีญาณที่แกล้วกล้า
ดำเนินไป (สูรสฺส หุตฺวา �าณสฺส คมนภาโว) (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/203-204/85)
4 ความอ่อนของม้า หมายถึงร่างกายอ่อนนุ่ม (สรีรมุทุตา) ความอ่อนของพระ หมายถึงความอ่อนเพราะศีล
(สีลมัททวะ) (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/203-204/85)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :345 }