เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 5. พราหมณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
น้อมไปในสักกายนิโรธ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว
เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจาก
สักกายะ เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อ
ความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะสักกายะเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวย
เวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัดสักกายะ
ความเพลิดเพลินในกามย่อมไม่เกิดแก่เธอ ความเพลิดเพลินในพยาบาทก็
ไม่เกิด ความเพลิดเพลินในวิหิงสาก็ไม่เกิด ความเพลิดเพลินในรูปก็ไม่เกิด ความ
เพลิดเพลินในสักกายะก็ไม่เกิด
เพราะความเพลิดเพลินในกามไม่เกิด เพราะความเพลิดเพลินในพยาบาทไม่เกิด
เพราะความเพลิดเพลินในวิหิงสาไม่เกิด เพราะความเพลิดเพลินในรูปไม่เกิด และ
เพราะความเพลิดเพลินในสักกายะไม่เกิดแก่เธอ ภิกษุนี้เราจึงเรียกว่า เป็นผู้ไม่มี
อาลัย1 ตัดตัณหาได้แล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะ
ได้โดยชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่สลัด 5 ประการนี้แล
นิสสารณียสูตรที่ 10 จบ
พราหมณวรรคที่ 5 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. โสณสูตร 2. โทณพราหมณสูตร
3. สังคารวสูตร 4. การณปาลีสูตร
5. ปิงคิยานีสูตร 6. มหาสุปินสูตร
7. วัสสสูตร 8. วาจาสูตร
9. กุลสูตร 10. นิสสารณียสูตร

จตุตถปัณณาสก์ จบ

เชิงอรรถ :
1 อาลัย ในที่นี้หมายถึงกามคุณ 5 (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) หรือหมายถึงวัฏฏะ (กิเลสวัฏฏะ,
กัมมวัฏฏะ, วิปากวัฏฏะ) (องฺ.จตุกฺก.อ. 2/128/377)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :342 }