เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 5. พราหมณวรรค 10. นิสสารณียสูตร
แล้ว เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้ว
จากพยาบาท เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อ
ความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวย
เวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัดพยาบาท
3. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการ
อวิหิงสา จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอวิหิงสา
จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว
หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา เธอหลุดพ้นแล้วจาก
อาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะวิหิงสา
เป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัด
วิหิงสา
4. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่
แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอ
มนสิการอรูป จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอรูป
จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว
หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย เธอหลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะรูป
เป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัดรูป
ทั้งหลาย
5. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการสักกายะ1 จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อมนสิการถึง
สักกายนิโรธ(ความดับสักกายะ) จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่

เชิงอรรถ :
1 มนสิการสักกายะ หมายถึงวิธีการที่พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ(ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน ๆ)ผู้เห็นนิพพานด้วย
อรหัตตมรรคและอรหัตตผลออกจากผลสมาบัติแล้ว ส่งจิตในอรหัตตผลสมาบัติไปยังอุปาทานขันธ์ 5 คือ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเพื่อจะทดสอบดูว่า ‘ความยึดมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ว่าเป็นอัตตา ยังมีอยู่หรือไม่’ (ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. 3/200/83)
อนึ่ง 4 วิธีแรก เป็นวิธีของท่านผู้เป็นสมถยานิก (ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน) แต่วิธีที่ 5 เป็นวิธีของ
ท่านผู้เป็นวิปัสสนายานิก (ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน) (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/200/92)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :341 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 5. พราหมณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
น้อมไปในสักกายนิโรธ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว
เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจาก
สักกายะ เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อ
ความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะสักกายะเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวย
เวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัดสักกายะ
ความเพลิดเพลินในกามย่อมไม่เกิดแก่เธอ ความเพลิดเพลินในพยาบาทก็
ไม่เกิด ความเพลิดเพลินในวิหิงสาก็ไม่เกิด ความเพลิดเพลินในรูปก็ไม่เกิด ความ
เพลิดเพลินในสักกายะก็ไม่เกิด
เพราะความเพลิดเพลินในกามไม่เกิด เพราะความเพลิดเพลินในพยาบาทไม่เกิด
เพราะความเพลิดเพลินในวิหิงสาไม่เกิด เพราะความเพลิดเพลินในรูปไม่เกิด และ
เพราะความเพลิดเพลินในสักกายะไม่เกิดแก่เธอ ภิกษุนี้เราจึงเรียกว่า เป็นผู้ไม่มี
อาลัย1 ตัดตัณหาได้แล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะ
ได้โดยชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่สลัด 5 ประการนี้แล
นิสสารณียสูตรที่ 10 จบ
พราหมณวรรคที่ 5 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. โสณสูตร 2. โทณพราหมณสูตร
3. สังคารวสูตร 4. การณปาลีสูตร
5. ปิงคิยานีสูตร 6. มหาสุปินสูตร
7. วัสสสูตร 8. วาจาสูตร
9. กุลสูตร 10. นิสสารณียสูตร

จตุตถปัณณาสก์ จบ

เชิงอรรถ :
1 อาลัย ในที่นี้หมายถึงกามคุณ 5 (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) หรือหมายถึงวัฏฏะ (กิเลสวัฏฏะ,
กัมมวัฏฏะ, วิปากวัฏฏะ) (องฺ.จตุกฺก.อ. 2/128/377)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :342 }