เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 5. พราหมณวรรค 4. การณปาลีสูตร
ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า
ท่านผู้เจริญ
1. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรมย่อมไม่ปรารถนา
ปวาทะ1ของสมณะเป็นอันมากเหล่าอื่นโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบ
เหมือนบุรุษผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ไม่ปรารถนารสที่เลวเหล่าอื่น”
2. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรม ย่อมได้ความ
พอใจ ความเลื่อมใสแห่งใจโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนบุรุษผู้
ถูกความหิวและความอ่อนเพลียครอบงำ ได้รวงผึ้ง เขาพึงได้ลิ้มรส
จากส่วนใด ๆ ย่อมได้รสดีอันไม่มีสิ่งเจือปนจากส่วนนั้น ๆ
3. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะหรืออัพภูตธรรม ย่อมได้ความ
ปราโมทย์ โสมนัสโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนบุรุษได้ไม้จันทน์
จะเป็นจันทน์เหลือง หรือจันทน์แดงก็ตาม พึงสูดกลิ่นจากส่วนใด ๆ
เช่น จากราก จากลำต้น หรือจากยอด ย่อมได้กลิ่นหอมดี กลิ่นแท้
จากส่วนนั้น ๆ
4. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรม โสกะ (ความ
โศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส
(ความทุกข์ใจ) อุปายาส (ความคับแค้นใจ)ของเขา ย่อมหมดไป
โดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนบุรุษผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก
นายแพทย์ผู้ฉลาดพึงบำบัดอาพาธของเขาโดยเร็ว
5. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรม ความ

เชิงอรรถ :
1 ปวาทะ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ (ความเชื่อถือ) ของสมณพราหมณ์เหล่าอื่น (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/194/77)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :331 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 5. พราหมณวรรค 4. การณปาลีสูตร
กระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวงของเขา
ย่อมระงับไปโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนสระน้ำที่มีน้ำใส จืด
สนิท สะอาด มีท่าเทียบ น่ารื่นรมย์ บุรุษถูกความร้อนแผดเผา
ถูกความร้อนกระทบ เหน็ดเหนื่อย หิว กระหาย เดินมาถึง เขาลง
ไปในสระนั้น อาบ และดื่ม พึงระงับความกระวนกระวาย ความ
เหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวง
เมื่อปิงคิยานีพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว การณปาลีพราหมณ์ลุกจากที่นั่ง ห่ม
ผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าข้างขวาลงบนแผ่นดิน ประคองอัญชลีไปทางที่พระผู้มี
พระภาคประทับอยู่เปล่งอุทาน1 3 ครั้งว่า
“ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”
แล้วกล่าวต่อไปว่า “ท่านปิงคิยานี ภาษิตของท่านปิงคิยานีชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ท่านปิงคิยานี ภาษิตของท่านปิงคิยานีชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านปิงคิยานีประกาศ
ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’
ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น
สรณะ ขอท่านปิงคิยานีจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต”
การณปาลีสูตรที่ 4 จบ

เชิงอรรถ :
1 อุทาน หมายถึงคำที่เกิดจากปีติที่ไม่สามารถเก็บไว้ในใจได้ จึงเปล่งออกมาภายนอก (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/
192/77)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :332 }