เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 5. พราหมณวรรค 4. การณปาลีสูตร
ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า
ท่านผู้เจริญ
1. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรมย่อมไม่ปรารถนา
ปวาทะ1ของสมณะเป็นอันมากเหล่าอื่นโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบ
เหมือนบุรุษผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ไม่ปรารถนารสที่เลวเหล่าอื่น”
2. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรม ย่อมได้ความ
พอใจ ความเลื่อมใสแห่งใจโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนบุรุษผู้
ถูกความหิวและความอ่อนเพลียครอบงำ ได้รวงผึ้ง เขาพึงได้ลิ้มรส
จากส่วนใด ๆ ย่อมได้รสดีอันไม่มีสิ่งเจือปนจากส่วนนั้น ๆ
3. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะหรืออัพภูตธรรม ย่อมได้ความ
ปราโมทย์ โสมนัสโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนบุรุษได้ไม้จันทน์
จะเป็นจันทน์เหลือง หรือจันทน์แดงก็ตาม พึงสูดกลิ่นจากส่วนใด ๆ
เช่น จากราก จากลำต้น หรือจากยอด ย่อมได้กลิ่นหอมดี กลิ่นแท้
จากส่วนนั้น ๆ
4. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรม โสกะ (ความ
โศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส
(ความทุกข์ใจ) อุปายาส (ความคับแค้นใจ)ของเขา ย่อมหมดไป
โดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนบุรุษผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก
นายแพทย์ผู้ฉลาดพึงบำบัดอาพาธของเขาโดยเร็ว
5. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรม ความ

เชิงอรรถ :
1 ปวาทะ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ (ความเชื่อถือ) ของสมณพราหมณ์เหล่าอื่น (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/194/77)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :331 }