เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 5. พราหมณวรรค 4. การณปาลีสูตร
4. การณปาลีบุตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อการณปาลี
[194] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้น การณปาลีพราหมณ์ใช้คนให้ทำการงาน1ของเจ้าลิจฉวีอยู่
ได้เห็นปิงคิยานีพราหมณ์2เดินมาแต่ไกล จึงถามว่า “ท่านปิงคิยานีพราหมณ์มา
จากไหนแต่ยังวัน3”
ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า “ข้าพเจ้ามาจากสำนักพระสมณโคดม”
การณปาลีพราหมณ์ถามว่า “ท่านปิงคิยานีเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ เข้าใจ
ความแจ่มชัดแห่งปัญญาของพระสมณโคดมว่า ‘เป็นบัณฑิต’ ได้หรือไม่”
ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใคร จักรู้ความแจ่มชัด
แห่งปัญญาของพระสมณโคดมเพราะเหตุไร ผู้ที่เป็นเช่นเดียวกับพระสมณโคดม
เท่านั้นจึงจะรู้ความแจ่มชัดแห่งปัญญาของพระสมณโคดม”
การณปาลีกล่าวว่า “ท่านปิงคิยานีช่างสรรเสริญพระสมณโคดมยิ่งนัก”
ปิงคิยานีพราหมณ์กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเป็นใคร และจักสรรเสริญพระสมณโคดม
เพราะหตุไร และท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นเป็นผู้อันชาวโลกสรรเสริญ เป็นผู้
ประเสริฐที่สุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
การณปาลีพราหมณ์ถามว่า “ท่านปิงคิยานีเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึง
เลื่อมใสยิ่งนักในพระสมณโคดมอย่างนี้”

เชิงอรรถ :
1 ให้ทำการงาน หมายถึงให้สร้างประตู ป้อม และกำแพงที่ยังไม่ได้สร้าง และหมายถึงให้ซ่อมแซมประตู ป้อม
และกำแพงที่เก่าคร่ำคร่า (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/194/75)
2 ปิงคิยานีพราหมณ์ คือพราหมณ์ผู้เป็นอริยสาวก ผู้บรรลุอนาคามิผล เล่ากันว่า พราหมณ์ผู้นี้ทำกิจวัตร
ประจำวันโดยการนำของหอม ระเบียบ ดอกไม้ไปบูชาพระศาสดาเป็นประจำ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/194/75)
3 แต่ยังวัน (ทิวา ทิวสฺส) หมายถึงในเวลาเที่ยงวัน (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/194/75)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :330 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 5. พราหมณวรรค 4. การณปาลีสูตร
ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า
ท่านผู้เจริญ
1. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรมย่อมไม่ปรารถนา
ปวาทะ1ของสมณะเป็นอันมากเหล่าอื่นโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบ
เหมือนบุรุษผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ไม่ปรารถนารสที่เลวเหล่าอื่น”
2. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรม ย่อมได้ความ
พอใจ ความเลื่อมใสแห่งใจโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนบุรุษผู้
ถูกความหิวและความอ่อนเพลียครอบงำ ได้รวงผึ้ง เขาพึงได้ลิ้มรส
จากส่วนใด ๆ ย่อมได้รสดีอันไม่มีสิ่งเจือปนจากส่วนนั้น ๆ
3. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะหรืออัพภูตธรรม ย่อมได้ความ
ปราโมทย์ โสมนัสโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนบุรุษได้ไม้จันทน์
จะเป็นจันทน์เหลือง หรือจันทน์แดงก็ตาม พึงสูดกลิ่นจากส่วนใด ๆ
เช่น จากราก จากลำต้น หรือจากยอด ย่อมได้กลิ่นหอมดี กลิ่นแท้
จากส่วนนั้น ๆ
4. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรม โสกะ (ความ
โศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส
(ความทุกข์ใจ) อุปายาส (ความคับแค้นใจ)ของเขา ย่อมหมดไป
โดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนบุรุษผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก
นายแพทย์ผู้ฉลาดพึงบำบัดอาพาธของเขาโดยเร็ว
5. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรม ความ

เชิงอรรถ :
1 ปวาทะ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ (ความเชื่อถือ) ของสมณพราหมณ์เหล่าอื่น (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/194/77)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :331 }