เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 5. พราหมณวรรค 3. สังคารวสูตร
4. พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว
5. พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล
โทณะ บรรดาพราหมณ์ 5 จำพวกนั้น ท่านเป็นพราหมณ์จำพวกไหน”
โทณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้แต่พราหมณ์
ผู้เป็นจัณฑาล ข้าพระองค์ยังให้บริบูรณ์ไม่ได้เลย ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของ
ท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิตเถิด”
โทณพราหมณสูตรที่ 2 จบ

3. สังคารวสูตร
ว่าด้วยสังคารวพราหมณ์
[193] ครั้งนั้นแล สังคารวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุปัจจัย
ให้มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย และอะไรเป็นเหตุปัจจัยให้มนตร์แม้ที่ไม่ได้
สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์
ที่ได้สาธยายเลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
1. สมัยใด บุคคลมีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัด1กามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว

เชิงอรรถ :
1 ธรรมที่สลัด มี 3 ประการ คือ (1) ธรรมที่สลัดด้วยการข่มไว้ หมายถึงปฐมฌานที่มีอสุภกัมมัฏฐานเป็น
อารมณ์ (2) ธรรมที่สลัดด้วยองค์นั้น หมายถึงวิปัสสนากัมมัฏฐาน (3) ธรรมที่สลัดด้วยการถอนขึ้น
หมายถึงอรหัตตมรรค (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/193/73-74)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :324 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 5. พราหมณวรรค 3. สังคารวสูตร
สมัยนั้น บุคคลย่อมไม่รู้ ย่อมไม่เห็นตามความเป็นจริงซึ่งประโยชน์
ตน1 ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย มนตร์แม้ที่สาธยาย
มาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่
ได้สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำซึ่งระคนด้วยครั่ง ขมิ้น สี
เขียว หรือสีเหลืองอ่อน คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะ
ที่เต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำ
อยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว
สมัยนั้น บุคคลย่อมไม่รู้ย่อมไม่เห็นตามความเป็นจริงแม้ซึ่ง
ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย มนตร์แม้ที่
สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึง
มนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
2. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำร้อนเพราะไฟ เดือดพล่าน
เป็นไอ คนมีตาดี มองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน

เชิงอรรถ :
1 ประโยชน์ตน ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/193/74)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :325 }