เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 5. พราหมณวรรค 2. โทณพราหมณสูตร
พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว เป็นอย่างไร
คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนตร์อยู่ตลอด 48 ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับ
บูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม ไม่แสวงหาด้วยพาณิชยกรรม ไม่แสวงหา
ด้วยโครักขกรรม ไม่แสวงหาด้วยการเป็นนักรบ ไม่แสวงหาด้วยการรับราชการ
ไม่แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว
มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรมบ้าง
ไม่ชอบธรรมบ้าง แสวงหาด้วยการซื้อบ้าง แสวงหาด้วยการขายบ้าง แสวงหา
พราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำบ้าง สมสู่กับพราหมณีบ้าง สตรีชั้นกษัตริย์บ้าง
แพศย์บ้าง ศูทรบ้าง จัณฑาลบ้าง นายพรานบ้าง ช่างสานบ้าง ช่างรถบ้าง
คนขนขยะบ้าง สตรีมีครรภ์บ้าง สตรีมีลูกอ่อนบ้าง สตรีมีระดูบ้าง สตรีหมด
ระดูบ้าง พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์เพราะต้องการความใคร่บ้าง
เพราะต้องการความสนุกบ้าง เพราะต้องการความยินดีบ้าง เพราะต้องการบุตร
บ้าง พราหมณ์ไม่ดำรงอยู่ในความประพฤติดีของพราหมณ์แต่ปางก่อน ล่วงละเมิด
ความประพฤตินั้น เพราะเหตุดังนี้แล ชาวโลกจึงเรียกว่า พราหมณ์ผู้มีความประพฤติ
ทั้งดีและชั่ว
พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว เป็นอย่างนี้แล (4)
พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล เป็นอย่างไร
คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนตร์อยู่ 48 ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับบูชา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :322 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 5. พราหมณวรรค 2. โทณพราหมณสูตร
อาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง แสวงหาด้วยกสิกรรมบ้าง
แสวงหาด้วยพาณิชยกรรมบ้าง แสวงหาด้วยโครักขกรรมบ้าง แสวงหาด้วยการเป็น
นักรบบ้าง แสวงหาด้วยการรับราชการบ้าง แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง
ถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารบ้าง เขามอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว
แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง แสวงหาด้วยการซื้อบ้าง
แสวงหาด้วยการขายบ้าง แสวงหาพราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำบ้าง สมสู่
กับพราหมณีบ้าง สตรีชั้นกษัตริย์บ้าง แพศย์บ้าง ศูทรบ้าง จัณฑาลบ้าง นายพราน
บ้าง ช่างสานบ้าง ช่างรถบ้าง คนขนขยะบ้าง สตรีมีครรภ์บ้าง สตรีมีลูกอ่อนบ้าง
สตรีมีระดูบ้าง สตรีหมดระดูบ้าง พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์เพราะ
ต้องการความใคร่บ้าง เพราะต้องการความสนุกบ้าง เพราะต้องการความยินดีบ้าง
เพราะต้องการบุตรบ้าง เขาเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง พวกพราหมณ์ได้กล่าวกับ
เขาอย่างนี้ว่า ‘ท่านปฏิญญาว่าเป็นพราหมณ์ ผู้เจริญ เพราะเหตุไร จึงเลี้ยงชีพด้วย
การงานทุกอย่าง’ เขาตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ เปรียบเสมือนไฟไหม้ของสะอาด
บ้าง ไม่สะอาดบ้าง แต่ไฟไม่ยึดติดกับสิ่งนั้น แม้ฉันใด ถึงแม้พราหมณ์เลี้ยงชีพด้วย
การงานทุกอย่างก็จริง แต่พราหมณ์ก็ไม่ยึดติดกับการงานนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
พราหมณ์จึงเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง’ เพราะเหตุดังนี้แล ชาวโลกจึงเรียกว่า
พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล
พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล เป็นอย่างนี้แล (5)
โทณะ บรรดาฤๅษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤๅษีอัฏฐกะ ฤๅษี
วามกะ ฤๅษีวามเทวะ ฤๅษีเวสสามิตตะ ฤๅษียมทัคคิ ฤๅษีอังคีรส ฤๅษีภารทวาชะ
ฤๅษีวาเสฏฐะ ฤๅษีกัสสปะ ฤๅษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนตร์ บอกมนตร์ พวกพราหมณ์ใน
ปัจุบันนี้ขับตาม กล่าวตามซึ่งบทมนตร์ที่เก่าแก่นี้ ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวม
ไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง สาธยายได้ถูกต้อง บอกได้ถูกต้อง ฤๅษีเหล่านั้นบัญญัติ
พราหมณ์ 5 จำพวกนี้ไว้ คือ
1. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม
2. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา
3. พราหมณ์ผู้ประพฤติดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :323 }