เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 5. พราหมณวรรค 2. โทณพราหมณสูตร
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์1เรียนมนตร์อยู่ตลอด 48 ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับ
บูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม ไม่แสวงหาด้วยพาณิชยกรรม(การค้าขาย)
ไม่แสวงหาด้วยโครักขกรรม(การเลี้ยงโค) ไม่แสวงหาด้วยการเป็นนักรบ ไม่แสวงหา
ด้วยการรับราชการ ไม่แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยว
ขอทานอย่างเดียว มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว โกนผมและ
หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วอย่างนี้
มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 ทิศที่ 2 ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ทิศเบื้องบน2 ทิศเบื้องล่าง3
ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็น
มหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 ทิศที่ 2 ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ทิศ
เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วย
อุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
เธอเจริญพรหมวิหาร 4 ประการนี้แล หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติพรหมโลก
พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม เป็นอย่างนี้แล (1)
พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา เป็นอย่างไร
คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนตร์อยู่ตลอด 48 ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับ
บูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม

เชิงอรรถ :
1 โกมารพรหมจรรย์ หมายถึงพรหมจรรย์ที่ประพฤติสืบต่อมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/192/
71)
2 ทิศเบื้องบน หมายถึงเทวโลก (วิสุทธิ. มหาฏีกา 1/254/435)
3 ทิศเบื้องล่าง หมายถึงสัตว์นรก และนาค (วิสุทธิ.มหาฏีกา 1/254/435)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :319 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 5. พราหมณวรรค 2. โทณพราหมณสูตร
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม ไม่แสวงหาด้วยพาณิชยกรรม ไม่แสวงหา
ด้วยโครักขกรรม ไม่แสวงหาด้วยการเป็นนักรบ ไม่แสวงหาด้วยการรับราชการ
และไม่แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว
มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรม ไม่
แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยการซื้อ ไม่แสวงหาด้วยการขาย แต่แสวงหาเฉพาะ
พราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำ เขาสมสู่เฉพาะพราหมณี ไม่สมสู่กับสตรีชั้น
กษัตริย์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล นายพราน ช่างสาน ช่างรถ คนขนขยะ สตรีมีครรภ์
สตรีมีลูกอ่อน สตรีหมดระดู เพราะเหตุไร พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีครรภ์
เพราะถ้าพราหมณ์สมสู่กับสตรีมีครรภ์ มาณพหรือมาณวิกา ชื่อว่าเป็นผู้เกิดแต่กอง
อุจจาระ ฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีครรภ์ เพราะเหตุไร พราหมณ์จึง
ไม่สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน เพราะถ้าพราหมณ์สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน มาณพหรือ
มาณวิกาชื่อว่าเป็นผู้ดื่มของไม่สะอาด ฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน
พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์ มิใช่เพราะต้องการความใคร่ มิใช่
เพราะต้องการความสนุก มิใช่เพราะต้องการความยินดี แต่เป็นพราหมณีของ
พราหมณ์ เพราะต้องการบุตรเท่านั้น พราหมณ์นั้นมีบุตรหรือธิดาแล้ว จึงปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต เขาบวชแล้วอย่างนี้
ก็สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่ เธอเจริญฌานทั้ง 4 ประการนี้แล หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์
พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา เป็นอย่างนี้แล (2)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :320 }