เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 5. พราหมณวรรค 2. โทณพราหมณสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โทณะ แม้ท่านก็ปฏิญญาว่า เป็นพราหมณ์มิใช่หรือ”
โทณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ใดเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
พึงกล่าวว่าเป็นพราหมณ์ ผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ1 ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพท2 พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์3 เกฏุภศาสตร์4
อักษรศาสตร์5 และประวัติศาสตร์6 เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายต-
ศาสตร์7 และลักษณะมหาบุรุษ8 ผู้นั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงหมายถึงข้าพระองค์
ทีเดียว เพราะข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่าย
บิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะ

เชิงอรรถ :
1 ดู เชิงอรรถที่ 3 ข้อ 134 (ยัสสังทิสังสูตร) หน้า 216 ในเล่มนี้
2 ไตรเภท หมายถึงคัมภีร์ คือ ฤคเวท (อิรุเวท) ยชุรเวท และสามเวท (องฺ.ติก.อ. 2/59/163)
3 นิฆัณฑุศาสตร์ หมายถึงวิชาว่าด้วยชื่อสิ่งของมีต้นไม้เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. 2/59/163) อีกนัยหนึ่งหมายถึง
คัมภีร์ประเภทศัพทมูลวิทยา (Etymology) คลังศัพท์ (Lexicon) หรืออภิธานศัพท์ (Glossary) ที่รวบรวม
คำศัพท์ในพระเวทซึ่งเป็นคำยาก หรือคำที่เลิกใช้แล้ว นำมาอธิบายความหมายเป็นส่วนหนึ่งของนิรุตติซึ่ง
เป็นหนึ่งในเวทางคศาสตร์ 6 ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤต เรียกว่า นิฆัณฏุ
4 เกฏุภศาสตร์ หมายถึงตำราว่าด้วยวิชาการกวี การแต่งฉันท์ (องฺ.ติก.อ. 2/59/163) อีกนัยหนึ่ง หมายถึง
คัมภีร์ว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมแก่การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นส่วนหนึ่งของกัลปะ
ซึ่งเป็น 1 ในบรรดาเวทางคศาสตร์ 6 ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤต เรียกว่า ไกฏภ
5 อักษรศาสตร์ หมายถึงคัมภีร์ว่าด้วยสิกขา (การเปล่งเสียง, การออกเสียง) และนิรุตติ (การอธิบายคำศัพท์
โดยอาศัยประวัติและกำเนิดของคำ)
6 ประวัติศาสตร์ หมายถึงพงศาวดารเล่าเรื่องเก่า ๆ มักจะมีคำว่า สิ่งนี้เป็นมาอย่างนี้ (ที.สี.อ. 256/222
และดู Dawson, John. A classical Dictionary of Hindu Mythology (London: Routledge and Kegen
Paul. 1957) P.222
7 โลกายตศาสตร์ ในที่นี้หมายถึงวิตัณฑวาทศาสตร์ คือ ศิลปะแห่งการเอาชนะผู้อื่นในเชิงวาทศิลป์ โดยการ
อ้างทฤษฎี และประเพณีทางสังคมมาหักล้างสัจธรรม มุ่งแสดงให้เห็นว่าตนฉลาดกว่า มิได้มุ่งสัจธรรมแต่
อย่างใด (ที.สี.อ. 256/222)
8 ลักษณะมหาบุรุษ หมายถึงศาสตร์ว่าด้วยลักษณะของบุคคลสำคัญมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น อันมีอยู่ใน
คัมภีร์พราหมณ์ซึ่งเรียกว่า มนตร์ เฉพาะส่วนที่ว่าด้วยผู้เป็นพระพุทธเจ้า เรียกว่าพุทธมนตร์มีอยู่ 16,000
คาถา (ที.สี.อ. 256/223)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :317 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 5. พราหมณวรรค 2. โทณพราหมณสูตร
อ้างถึงชาติตระกูล เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุ-
ศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์
ชำนาญโลกายตศาสตร์ และลักษณะมหาบุรุษ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โทณะ บรรดาฤๅษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์
คือ ฤๅษีอัฏฐกะ ฤๅษีวามกะ ฤๅษีวามเทวะ ฤๅษีเวสสามิตตะ ฤๅษียมทัคคิ
ฤๅษีอังคีรส ฤๅษีภารทวาชะ ฤๅษีวาเสฏฐะ ฤๅษีกัสสปะ ฤๅษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนตร์
บอกมนตร์ พวกพราหมณ์ในปัจจุบันนี้ขับตาม กล่าวตามซึ่งบทมนตร์ที่เก่าแก่นี้ที่
ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง สาธยายได้ถูกต้อง บอกได้
ถูกต้อง ฤๅษีเหล่านั้นบัญญัติพราหมณ์ 5 จำพวกนี้ไว้ คือ
1. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม
2. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา
3. พราหมณ์ผู้ประพฤติดี
4. พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว
5. พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล
โทณะ ท่านเป็นพราหมณ์จำพวกไหน ใน 5 จำพวกนั้น”
โทณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ไม่รู้จักพราหมณ์
5 จำพวกนี้ รู้แต่ว่าเป็นพราหมณ์เท่านั้น ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงธรรมแก่
ข้าพระองค์ โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะพึงรู้จักพราหมณ์ 5 จำพวกนี้ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โทณะ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก
กล่าว” โทณพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม เป็นอย่างไร
คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :318 }