เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 5. พราหมณวรรค 2. โทณพราหมณสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โทณะ แม้ท่านก็ปฏิญญาว่า เป็นพราหมณ์มิใช่หรือ”
โทณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ใดเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
พึงกล่าวว่าเป็นพราหมณ์ ผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ1 ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพท2 พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์3 เกฏุภศาสตร์4
อักษรศาสตร์5 และประวัติศาสตร์6 เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายต-
ศาสตร์7 และลักษณะมหาบุรุษ8 ผู้นั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงหมายถึงข้าพระองค์
ทีเดียว เพราะข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่าย
บิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะ

เชิงอรรถ :
1 ดู เชิงอรรถที่ 3 ข้อ 134 (ยัสสังทิสังสูตร) หน้า 216 ในเล่มนี้
2 ไตรเภท หมายถึงคัมภีร์ คือ ฤคเวท (อิรุเวท) ยชุรเวท และสามเวท (องฺ.ติก.อ. 2/59/163)
3 นิฆัณฑุศาสตร์ หมายถึงวิชาว่าด้วยชื่อสิ่งของมีต้นไม้เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. 2/59/163) อีกนัยหนึ่งหมายถึง
คัมภีร์ประเภทศัพทมูลวิทยา (Etymology) คลังศัพท์ (Lexicon) หรืออภิธานศัพท์ (Glossary) ที่รวบรวม
คำศัพท์ในพระเวทซึ่งเป็นคำยาก หรือคำที่เลิกใช้แล้ว นำมาอธิบายความหมายเป็นส่วนหนึ่งของนิรุตติซึ่ง
เป็นหนึ่งในเวทางคศาสตร์ 6 ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤต เรียกว่า นิฆัณฏุ
4 เกฏุภศาสตร์ หมายถึงตำราว่าด้วยวิชาการกวี การแต่งฉันท์ (องฺ.ติก.อ. 2/59/163) อีกนัยหนึ่ง หมายถึง
คัมภีร์ว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมแก่การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นส่วนหนึ่งของกัลปะ
ซึ่งเป็น 1 ในบรรดาเวทางคศาสตร์ 6 ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤต เรียกว่า ไกฏภ
5 อักษรศาสตร์ หมายถึงคัมภีร์ว่าด้วยสิกขา (การเปล่งเสียง, การออกเสียง) และนิรุตติ (การอธิบายคำศัพท์
โดยอาศัยประวัติและกำเนิดของคำ)
6 ประวัติศาสตร์ หมายถึงพงศาวดารเล่าเรื่องเก่า ๆ มักจะมีคำว่า สิ่งนี้เป็นมาอย่างนี้ (ที.สี.อ. 256/222
และดู Dawson, John. A classical Dictionary of Hindu Mythology (London: Routledge and Kegen
Paul. 1957) P.222
7 โลกายตศาสตร์ ในที่นี้หมายถึงวิตัณฑวาทศาสตร์ คือ ศิลปะแห่งการเอาชนะผู้อื่นในเชิงวาทศิลป์ โดยการ
อ้างทฤษฎี และประเพณีทางสังคมมาหักล้างสัจธรรม มุ่งแสดงให้เห็นว่าตนฉลาดกว่า มิได้มุ่งสัจธรรมแต่
อย่างใด (ที.สี.อ. 256/222)
8 ลักษณะมหาบุรุษ หมายถึงศาสตร์ว่าด้วยลักษณะของบุคคลสำคัญมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น อันมีอยู่ใน
คัมภีร์พราหมณ์ซึ่งเรียกว่า มนตร์ เฉพาะส่วนที่ว่าด้วยผู้เป็นพระพุทธเจ้า เรียกว่าพุทธมนตร์มีอยู่ 16,000
คาถา (ที.สี.อ. 256/223)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :317 }