เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 4. อรัญญวรรค 2. จีวรสูตร
เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจาก
นมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส บรรดาโครส 5 ชนิดนั้น
หัวเนยใส ชาวโลกกล่าวว่าเลิศ แม้ฉันใด
บรรดาภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร 5 จำพวกนี้ ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เพราะอาศัย
ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อ
ปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประธาน เป็นผู้สูงสุด และเป็นผู้
ประเสริฐสุด ฉันนั้นเหมือนกัน
อารัญญิกสูตรที่ 1 จบ

2. จีวรสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
[182] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร 5 จำพวกนี้
ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร 5 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
ฯลฯ1
5. ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความ
สันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอัน
งามเช่นนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร 5 จำพวกนี้แล
จีวรสูตรที่ 2 จบ

เชิงอรรถ :
1 “ฯลฯ” ที่ปรากฏในสูตรที่ 2-9 ของวรรคนี้ มีความเต็มเหมือนสูตรที่ 1 และสูตรที่ 10

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :310 }