เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 3. อุปาสกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ได้รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุ 500 รูปเหล่านั้นมีภเวสีภิกษุเป็นประมุข พยายามบำเพ็ญธรรมที่สูง ๆ
ขึ้นไป ประณีตขึ้นไป ได้ทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติอันยอดเยี่ยม ด้วยประการฉะนี้
อานนท์ เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
เมื่อพยายามบำเพ็ญธรรมที่สูง ๆ ขึ้นไป ประณีตขึ้นไป ก็จักทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติอัน
ยอดเยี่ยม’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
ภเวสีสูตรที่ 10 จบ
อุปาสกวรรคที่ 3 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. สารัชชสูตร 2. วิสารทสูตร
3. นิรยสูตร 4. เวรสูตร
5. จัณฑาลสูตร 6. ปีติสูตร
7. วณิชชาสูตร 8. ราชสูตร
9. คิหิสูตร 10. ภเวสีสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :308 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 4. อรัญญวรรค 1. อารัญญิกสูตร
4. อรัญญวรรค
หมวดว่าด้วยป่า
1. อารัญญิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
[181] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร 5
จำพวกนี้
ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร 5 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรเพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย1
2. ภิกษุผู้มีความปรารถนาชั่ว ถูกความปรารถนาครอบงำ2 จึงอยู่ป่า
เป็นวัตร
3. ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรเพราะเป็นบ้า เพราะมีจิตฟุ้งซ่าน
4. ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เพราะรู้ว่า ‘เป็นวัตรที่พระพุทธเจ้าและสาวก
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ’
5. ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร 5 จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร 5 จำพวกนี้ ภิกษุผู้อยู่ป่า
เป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด
ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประธาน
เป็นผู้สูงสุด และเป็นผู้ประเสริฐสุด

เชิงอรรถ :
1 เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย หมายถึงไม่รู้วิธีปฏิบัติสมาทาน และไม่รู้อานิสงส์แห่งการปฏิบัติ-
สมาทาน (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/181/71)
2 มีความปรารถนาชั่ว ถูกความปรารถนาครอบงำ หมายถึงมีความปรารถนาว่า เมื่อเราอยู่ป่า คนทั้งหลาย
ก็จักสักการะเราด้วยปัจจัย 4 ด้วยคิดว่า ‘ภิกษุรูปนี้อยู่ป่าเป็นวัตร’ ทั้งจักยกย่องเราว่า ‘ภิกษุนี้เป็นลัชชี
ภิกษุนี้ชอบสงัด’ จึงอยู่ป่า (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/181/71)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :309 }