เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 3. อุปาสกวรรค 10. ภเวสีสูตร
ภเวสีอุบาสกได้บรรพชาได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคพระนามว่า
กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วแล ครั้นอุปสมบทแล้วไม่นาน จึงหลีกไปอยู่ผู้เดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ยอดเยี่ยม1อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรชิต
โดยชอบ ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ได้รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’
อานนท์ ภเวสีภิกษุได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
อานนท์ คราวนั้น อุบาสก 500 คนเหล่านั้น ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภเวสี
อุบาสกผู้เป็นนายมีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนพวกเรา ภเวสีอุบาสกผู้
เป็นนาย จักโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ไฉนพวกเราจักเป็นเช่นนั้นบ้างไม่ได้’ จึงได้พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระนามว่า
กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับแล้วกราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ทั้งหลายพึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค’
อุบาสก 500 คนเหล่านั้นได้บรรพชาได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค
พระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วแล
ต่อมา ภเวสีภิกษุได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราเองเป็นผู้ได้วิมุตติสุขอันยอดเยี่ยมนี้
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก โอหนอ ภิกษุประมาณ 500 รูป
แม้เหล่านี้ ก็พึงเป็นผู้ได้วิมุตติสุขอันยอดเยี่ยมนี้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก’
คราวนั้นภิกษุ 500 รูปเหล่านั้น ต่างเป็นผู้หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม

เชิงอรรถ :
1 ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล หรืออริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์ (องฺ.ทุก.อ.
2/5/7, ม.ม.อ. 2/82/80)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :307 }