เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 3. อุปาสกวรรค 9. คิหิสูตร
สารีบุตร พวกเธอพึงรู้จักคฤหัสถ์คนใดคนหนึ่งผู้นุ่งห่มผ้าขาว มีการงาน
สำรวมดีในสิกขาบท 5 ประการ และเป็นผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
อันมีในจิตยิ่ง 4 ประการนี้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
และคฤหัสถ์นั้นเมื่อหวังอยู่ ก็พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรก
สิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายสิ้นแล้ว มีทุคติ
สิ้นแล้ว และมีวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ
สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
บัณฑิตเห็นภัยในนรกแล้ว พึงเว้นบาปเสีย
สมาทานอริยธรรม1แล้ว พึงเว้นบาปเสีย
ก็ในเมื่อมีความพยายามอยู่
ไม่พึงเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย
ไม่พึงกล่าวเท็จทั้งที่รู้
ไม่พึงหยิบฉวยสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
พึงยินดีภริยาของตน ไม่พึงยินดีภริยาผู้อื่น
ไม่พึงดื่มสุราเมรัย2เครื่องยังจิตให้หลงไหล
พึงระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพึงตรึกถึงพระธรรม3
พึงเจริญจิตอันปราศจากพยาบาท4เพื่อเกื้อกูลแก่เทวโลก
ทักษิณาที่ผู้ต้องการบุญแสวงหาบุญอยู่ให้แล้วในสัตบุรุษ5เป็นอัน
ดับแรก

เชิงอรรถ :
1 อริยธรรม ในที่นี้หมายถึงศีล 5 (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/179/69)
2 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 32 (จุนทีสูตร) หน้า 49 ในเล่มนี้
3 ตรึกถึงพระธรรม ในที่นี้หมายถึงระลึกถึงโลกุตตรธรรม 9 ประการ คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1
(องฺ.ปญฺจก.อ.3/179/69)
4 จิตอันปราศจากพยาบาท ในที่นี้หมายถึงพรหมวิหารจิตมีเมตตาจิตเป็นต้น ที่ไม่มีทุกข์ (องฺ.ปญฺจก.อ.
3/179/69)
5 สัตบุรุษ ในที่นี้หมายถึงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้า (องฺ.ปญฺจก.อ.
3/179/69)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :302 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 3. อุปาสกวรรค 9. คิหิสูตร
ในเมื่อไทยธรรมมีอยู่พร้อม ย่อมมีผลไพบูลย์
สารีบุตร เราจักบอกสัตบุรุษให้ จงฟังคำของเรา
โคผู้ที่ฝึกแล้วเป็นโคใช้งานที่สมบูรณ์ด้วยกำลัง
มีเชาวน์ดี และเป็นสัตว์ที่ซื่อตรง
จะเกิดในสีสันใด ๆ คือ สีดำ สีขาว สีแดง
สีเขียว สีด่าง สีตามธรรมชาติของตน
สีเหมือนโคธรรมดา หรือสีเหมือนนกพิราบก็ตาม
ชนทั้งหลายเทียมมันเข้าในแอก
ไม่คำนึงถึงสีสันของมัน ฉันใด
ผู้ที่ฝึกตนดีแล้ว มีความประพฤติดีงาม
ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล พูดคำสัตย์
มีใจประกอบด้วยหิริ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จะเกิดในหมู่มนุษยชาติใด ๆ คือ กษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะก็ตาม
ก็ละความเกิดและความตายได้
มีพรหมจรรย์บริบูรณ์ ปลงภาระได้แล้ว
ไม่ประกอบด้วยกิเลส ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะ รู้จบธรรมทุกอย่าง1
ดับสนิทเพราะไม่ถือมั่น
ในเขตที่ปราศจากธุลี2เช่นนั้นแล
ทักษิณาย่อมมีผลมาก

เชิงอรรถ :
1 ธรรมทุกอย่าง ในที่นี้หมายถึงขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 (องฺ.ติก.อ. 2/58/161)
2 ปราศจากธุลี หมายถึงไม่มีธุลี คือ ราคะ โทสะ และโมหะ (องฺ.ติก.อ. 2/58/161)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :303 }