เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 3. อุปาสกวรรค 9. คิหิสูตร
มีเปตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายสิ้นแล้ว มีทุคติสิ้นแล้ว มีวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ1ในวันข้างหน้า’
คฤหัสถ์เป็นผู้มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
2. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
3. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
4. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
5. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท
คฤหัสถ์เป็นผู้มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท 5 ประการนี้
คฤหัสถ์เป็นผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง 4 ประการ
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จ
ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็น
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้
มีพระภาค’ นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง
ประการที่ 1 อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งจิตที่
ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่ผ่องแผ้ว

เชิงอรรถ :
1 สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรค 3 เบื้องสูง คือสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค (องฺ.ติก.อ.
2/87/242, ที.สี.อ. 373/281, องฺ.ติก.ฏีกา 2/87/235)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :300 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 3. อุปาสกวรรค 9. คิหิสูตร
2. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า
‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน1 อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็น
สุขในปัจจุบัน อันมีในจิตยิ่งประการที่ 2 อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว
เพื่อความหมดจดแห่งจิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต
ที่ยังไม่ผ่องแผ้ว
3. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า
‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง
ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่อริยบุคคล 4 คู่ คือ 8 บุคคล
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็น
นาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
อันมีในจิตยิ่งประการที่ 3 อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความ
หมดจดแห่งจิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่
ผ่องแผ้ว
4. เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะใคร่2 ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ
เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันมีในจิต
ยิ่งประการที่ 4 อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความหมดจดแห่ง
จิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่ผ่องแผ้ว
คฤหัสถ์ผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง 4 ประการนี้
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก

เชิงอรรถ :
1 ควรน้อมเข้ามาในตน หมายถึงควรน้อมเข้ามาสู่จิตของตนหรือควรน้อมเข้ามาเพื่อการปฏิบัติ (องฺ.ติก.อ.
2/54/158)
2 ศีลที่พระอริยะใคร่ ในที่นี้หมายถึงศีลในอริยมรรค ศีลในอริยผล (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/179/69)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :301 }