เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 3. อุปาสกวรรค 9. คิหิสูตร
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้วประพฤติล่วงในหญิงหรือลูกสาว
ของผู้อื่น คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทแล้วทำลายประโยชน์ของคหบดีหรือบุตรของคหบดีด้วยการพูดเท็จ พระ
ราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นเหตุ เธอทั้งหลาย
เคยได้เห็น เคยได้ฟังบาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง
มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
ราชสูตรที่ 8 จบ

9. คิหิสูตร
ว่าด้วยคฤหัสถ์
[179] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี มีอุบาสกประมาณ 500 คนแวดล้อม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า สารีบุตร เธอทั้งหลายพึง
รู้จักคฤหัสถ์คนหนึ่งผู้นุ่งห่มผ้าขาว มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท 5 ประการ
และเป็นผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน1 อันมีในจิตยิ่ง2 4 ประการ
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก และคฤหัสถ์นั้นเมื่อหวังอยู่ก็พึง
พยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว

เชิงอรรถ :
1 ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นชื่อของรูปาวจรฌาน และรูปาวจรฌานนี้เอง ที่เรียกว่าเป็น
ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นเหตุให้ท่านผู้บำเพ็ญฌานได้ประสพเนกขัมมสุขที่ไม่เศร้าหมอง
ในอัตภาพปัจจุบัน (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/179/66)
2 จิตยิ่ง (อภิเจตสิก) ในที่นี้หมายถึงจิตที่ยอดเยี่ยม(อุตตมจิต) ได้แก่จิตที่บริสุทธิ์(วิสุทธจิต) (องฺ.ปญฺจก.อ.
3/179/68-69, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/179/66)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :299 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 3. อุปาสกวรรค 9. คิหิสูตร
มีเปตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายสิ้นแล้ว มีทุคติสิ้นแล้ว มีวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ1ในวันข้างหน้า’
คฤหัสถ์เป็นผู้มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
2. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
3. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
4. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
5. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท
คฤหัสถ์เป็นผู้มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท 5 ประการนี้
คฤหัสถ์เป็นผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง 4 ประการ
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จ
ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็น
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้
มีพระภาค’ นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง
ประการที่ 1 อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งจิตที่
ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่ผ่องแผ้ว

เชิงอรรถ :
1 สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรค 3 เบื้องสูง คือสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค (องฺ.ติก.อ.
2/87/242, ที.สี.อ. 373/281, องฺ.ติก.ฏีกา 2/87/235)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :300 }