เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 3. อุปาสกวรรค 9. คิหิสูตร
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้วประพฤติล่วงในหญิงหรือลูกสาว
ของผู้อื่น คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทแล้วทำลายประโยชน์ของคหบดีหรือบุตรของคหบดีด้วยการพูดเท็จ พระ
ราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นเหตุ เธอทั้งหลาย
เคยได้เห็น เคยได้ฟังบาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง
มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
ราชสูตรที่ 8 จบ

9. คิหิสูตร
ว่าด้วยคฤหัสถ์
[179] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี มีอุบาสกประมาณ 500 คนแวดล้อม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า สารีบุตร เธอทั้งหลายพึง
รู้จักคฤหัสถ์คนหนึ่งผู้นุ่งห่มผ้าขาว มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท 5 ประการ
และเป็นผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน1 อันมีในจิตยิ่ง2 4 ประการ
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก และคฤหัสถ์นั้นเมื่อหวังอยู่ก็พึง
พยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว

เชิงอรรถ :
1 ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นชื่อของรูปาวจรฌาน และรูปาวจรฌานนี้เอง ที่เรียกว่าเป็น
ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นเหตุให้ท่านผู้บำเพ็ญฌานได้ประสพเนกขัมมสุขที่ไม่เศร้าหมอง
ในอัตภาพปัจจุบัน (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/179/66)
2 จิตยิ่ง (อภิเจตสิก) ในที่นี้หมายถึงจิตที่ยอดเยี่ยม(อุตตมจิต) ได้แก่จิตที่บริสุทธิ์(วิสุทธจิต) (องฺ.ปญฺจก.อ.
3/179/68-69, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/179/66)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :299 }