เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 3. อุปาสกวรรค 8. ราชสูตร
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้
ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ พระราชาจับเขาแล้ว
ประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการพูด
เท็จเป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั่นเองปรากฏให้รู้ว่า ‘คนผู้นี้ทำลายประโยชน์
ของคหบดี หรือบุตรของคหบดีด้วยการพูดเท็จ พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ
เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการพูดเท็จเป็นเหตุ เธอทั้งหลายเคย
ได้เห็น เคยได้ฟังบาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง
มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ
เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท พระราชาจับเขาแล้ว
ประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นเหตุ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็นไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้
ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือ
ทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั่นเองปรากฏให้รู้ว่า
‘คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
แล้วฆ่าหญิงหรือชาย คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาทแล้วลักทรัพย์จากบ้านหรือป่า คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :298 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 3. อุปาสกวรรค 9. คิหิสูตร
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้วประพฤติล่วงในหญิงหรือลูกสาว
ของผู้อื่น คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทแล้วทำลายประโยชน์ของคหบดีหรือบุตรของคหบดีด้วยการพูดเท็จ พระ
ราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นเหตุ เธอทั้งหลาย
เคยได้เห็น เคยได้ฟังบาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง
มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
ราชสูตรที่ 8 จบ

9. คิหิสูตร
ว่าด้วยคฤหัสถ์
[179] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี มีอุบาสกประมาณ 500 คนแวดล้อม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า สารีบุตร เธอทั้งหลายพึง
รู้จักคฤหัสถ์คนหนึ่งผู้นุ่งห่มผ้าขาว มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท 5 ประการ
และเป็นผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน1 อันมีในจิตยิ่ง2 4 ประการ
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก และคฤหัสถ์นั้นเมื่อหวังอยู่ก็พึง
พยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว

เชิงอรรถ :
1 ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นชื่อของรูปาวจรฌาน และรูปาวจรฌานนี้เอง ที่เรียกว่าเป็น
ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นเหตุให้ท่านผู้บำเพ็ญฌานได้ประสพเนกขัมมสุขที่ไม่เศร้าหมอง
ในอัตภาพปัจจุบัน (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/179/66)
2 จิตยิ่ง (อภิเจตสิก) ในที่นี้หมายถึงจิตที่ยอดเยี่ยม(อุตตมจิต) ได้แก่จิตที่บริสุทธิ์(วิสุทธจิต) (องฺ.ปญฺจก.อ.
3/179/68-69, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/179/66)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :299 }