เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 3. อุปาสกวรรค 7. วณิชชาสูตร
4. ไม่มีสุขโสมนัสอันประกอบด้วยอกุศล
5. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกุศล
สารีบุตร สมัยใด อริยสาวกบรรลุปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น อริยสาวกนั้น
ย่อมไม่มีฐานะ 5 ประการนี้”
ปีติสูตรที่ 6 จบ

7. วณิชชาสูตร
ว่าด้วยการค้าขายที่อุบาสกไม่ควรประกอบ
[177] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกไม่ควรทำการค้าขาย 5 ประการนี้
การค้าขาย 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. การค้าขายศัสตราวุธ1
2. การค้าขายสัตว์2
3. การค้าขายเนื้อ3
4. การค้าขายของมึนเมา4
5. การค้าขายยาพิษ5
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกไม่ควรทำการค้าขาย 5 ประการนี้แล
วณิชชาสูตรที่ 7 จบ

เชิงอรรถ :
1 การค้าขายศัสตราวุธ หมายถึงการให้สร้างอาวุธแล้วขายอาวุธนั้น (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/177/68) ที่ห้าม
ค้าขาย ก็เพราะการค้าขายอาวุธ เป็นเหตุให้ทำความผิดก่อโทษแก่ผู้อื่นได้ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/177-8/66)
2 การค้าขายสัตว์ ในที่นี้หมายถึงการค้าขายมนุษย์ ที่ห้ามค้าขาย ก็เพราะการค้าขายมนุษย์ทำให้มนุษย์
หมดอิสรภาพ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/177/68, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา. 3/177-8/66)
3 การค้าขายเนื้อ หมายถึงการเลี้ยงสัตว์มีสุกรเป็นต้นไว้ขาย หรือการขายเนื้อสัตว์ ที่ห้ามค้าขาย ก็เพราะ
การค้าขายเนื้อเป็นเหตุให้ต้องฆ่าสัตว์ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/177/68, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา. 3/177-8/66)
4 การค้าขายของมึนเมา หมายถึงการให้ปรุงของมึนเมาชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วขาย ที่ห้ามค้าขาย ก็เพราะ
การค้าขายของมึนเมาเป็นเหตุให้มีการดื่มแล้วเกิดความประมาท (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/177/68, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา
3/177-8/66)
5 การค้าขายยาพิษ หมายถึงการให้ทำยาพิษแล้วค้าขายยาพิษนั้น
การค้าขาย 5 ประการนี้ อุบาสกไม่ควรทำทั้งด้วยตนเองและไม่ควรชักชวนบุคคลอื่นให้ทำด้วย
(องฺ.ปญฺจก.อ. 3/177/68)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :295 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 3. อุปาสกวรรค 8. ราชสูตร
8. ราชสูตร
ว่าด้วยพระราชา
[178] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ เธอทั้งหลาย
เคยได้เห็นเคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ พระ
ราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการ
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นเหตุ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้
ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ พระราชาจับเขาแล้ว
ประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการฆ่า
สัตว์เป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั้นเองปรากฏให้รู้ว่า ‘คนผู้นี้ฆ่าบุรุษหรือสตรี
ต่อมาพระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์
เพราะการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นเหตุ’ เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟัง
บาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง
มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ
เธอทั้งหลายเคยได้เห็นเคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการ
ลักทรัพย์ พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราช
ประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการลักทรัพย์เป็นเหตุ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็นไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้
ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ พระราชาจับเขาแล้ว

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :296 }