เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 3. อุปาสกวรรค 7. วณิชชาสูตร
4. ไม่มีสุขโสมนัสอันประกอบด้วยอกุศล
5. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกุศล
สารีบุตร สมัยใด อริยสาวกบรรลุปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น อริยสาวกนั้น
ย่อมไม่มีฐานะ 5 ประการนี้”
ปีติสูตรที่ 6 จบ

7. วณิชชาสูตร
ว่าด้วยการค้าขายที่อุบาสกไม่ควรประกอบ
[177] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกไม่ควรทำการค้าขาย 5 ประการนี้
การค้าขาย 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. การค้าขายศัสตราวุธ1
2. การค้าขายสัตว์2
3. การค้าขายเนื้อ3
4. การค้าขายของมึนเมา4
5. การค้าขายยาพิษ5
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกไม่ควรทำการค้าขาย 5 ประการนี้แล
วณิชชาสูตรที่ 7 จบ

เชิงอรรถ :
1 การค้าขายศัสตราวุธ หมายถึงการให้สร้างอาวุธแล้วขายอาวุธนั้น (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/177/68) ที่ห้าม
ค้าขาย ก็เพราะการค้าขายอาวุธ เป็นเหตุให้ทำความผิดก่อโทษแก่ผู้อื่นได้ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/177-8/66)
2 การค้าขายสัตว์ ในที่นี้หมายถึงการค้าขายมนุษย์ ที่ห้ามค้าขาย ก็เพราะการค้าขายมนุษย์ทำให้มนุษย์
หมดอิสรภาพ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/177/68, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา. 3/177-8/66)
3 การค้าขายเนื้อ หมายถึงการเลี้ยงสัตว์มีสุกรเป็นต้นไว้ขาย หรือการขายเนื้อสัตว์ ที่ห้ามค้าขาย ก็เพราะ
การค้าขายเนื้อเป็นเหตุให้ต้องฆ่าสัตว์ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/177/68, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา. 3/177-8/66)
4 การค้าขายของมึนเมา หมายถึงการให้ปรุงของมึนเมาชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วขาย ที่ห้ามค้าขาย ก็เพราะ
การค้าขายของมึนเมาเป็นเหตุให้มีการดื่มแล้วเกิดความประมาท (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/177/68, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา
3/177-8/66)
5 การค้าขายยาพิษ หมายถึงการให้ทำยาพิษแล้วค้าขายยาพิษนั้น
การค้าขาย 5 ประการนี้ อุบาสกไม่ควรทำทั้งด้วยตนเองและไม่ควรชักชวนบุคคลอื่นให้ทำด้วย
(องฺ.ปญฺจก.อ. 3/177/68)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :295 }