เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 3. อุปาสกวรรค 3. นิรยสูตร
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
ฯลฯ
5. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล เป็นผู้แกล้วกล้า
อยู่ครองเรือน
วิสารทสูตรที่ 2 จบ

3. นิรยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ตกนรก
[173] อุบาสกประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือน
ถูกนำไปฝังไว้
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
ฯลฯ
5. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
ฯลฯ
5. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
นิรยสูตรที่ 3 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :289 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 3. อุปาสกวรรค 4. เวรสูตร
4. เวรสูตร
ว่าด้วยภัยเวร
[174] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี อุบาสกละภัย1เวร2 5 ประการไม่ได้ เราเรียกว่า ‘ผู้ทุศีล’ และเขาย่อม
ไปเกิดในนรก
ภัยเวร 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. การฆ่าสัตว์
2. การลักทรัพย์
3. การประพฤติผิดในกาม
4. การพูดเท็จ
5. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
คหบดี อุบาสกละภัยเวร 5 ประการนี้แลไม่ได้ เราเรียกว่า ‘ผู้ทุศีล’ และเขา
ย่อมไปเกิดในนรก
อุบาสกละภัยเวร 5 ประการได้แล้ว เราเรียกว่า ‘ผู้มีศีล’ และเขาย่อมไปเกิด
ในสุคติ
ภัยเวร 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. การฆ่าสัตว์
2. การลักทรัพย์
3. การประพฤติผิดในกาม
4. การพูดเท็จ
5. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท

เชิงอรรถ :
1 ภัย หมายถึงสิ่งที่ทำให้จิตสะดุ้ง (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/174/67)
2 เวร หมายถึงอกุศลกรรม และบุคคลผู้ก่อเวร (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/174/67)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :290 }