เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 2. อาฆาตวรรค 9. ขิปปนิสันติสูตร
ขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูต-
ญาณทัสสนะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณ-
ทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบ
เหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น
ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมา-
สมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย
ยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณ-
ทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมา-
สมาธิ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทา
และวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่า
มีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้
แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
สีลสูตรที่ 8 จบ

9. ขิปปนิสันติสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ใคร่ครวญได้เร็ว
[169] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถาม
ท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุจึงเป็นผู้ใคร่ครวญได้เร็ว เรียนได้เร็ว
เรียนได้มากในกุศลธรรมทั้งหลาย และสิ่งที่เธอเรียนแล้วจะไม่เลือนหายไป”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :283 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 2. อาฆาตวรรค 9. ขิปปนิสันติสูตร
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอานนท์เป็นพหูสูต เฉพาะท่านอานนท์เท่านั้น
ที่จะสามารถอธิบายเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้งได้1”
พระอานนท์กล่าวว่า “ท่านสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
ผมจักกล่าว” ท่านพระสารีบุตรรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ฉลาดในอรรถ
2. เป็นผู้ฉลาดในธรรม
3. เป็นผู้ฉลาดในพยัญชนะ
4. เป็นผู้ฉลาดในนิรุตติ
5. เป็นผู้ฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย2
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงเป็นผู้ใคร่ครวญได้เร็ว เรียนได้ดี เรียนได้มาก
ในกุศลธรรมทั้งหลาย และสิ่งที่เธอเรียนแล้วย่อมไม่เลือนหายไป”
พระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏตามที่ท่าน
อานนท์กล่าวไว้ดีแล้วนี้ เราทั้งหลายขอทรงจำไว้ว่า ท่านอานนท์มีธรรม 5 ประการนี้
ท่านอานนท์เป็นผู้ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติ
และฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย”
ขิปปนิสันติสูตรที่ 9 จบ

เชิงอรรถ :
1 แปลจากบาลีว่า “ปฏิภาตุ อายสฺมนฺตญฺเ�ว อานนฺทํ” มีข้อสังเกตว่า โครงสร้างประโยคเช่นนี้ เป็นประโยค
ธรรมเนียมการให้โอกาส การเชิญ หรือการมอบหมายให้แสดงธรรมตาม ‘ความถนัดส่วนบุคคล’ มีปรากฏ
ในพระไตรปิฎกหลายเล่ม เช่น
ปรากฏใน ที.สี. 9/318/124, ม.มู. 12/473/422, องฺ.ติก. 20/69/194 ว่า “สาธุ วต ภนฺเต
ภควนฺตํเยว โคตมํ ปฏิภาตุ เอตสฺส ภาสิตสฺส อตฺโถ”
ปรากฏใน ม.มู. 12/63/41 ว่า “อุปมา มํ อาวุโส สารีปุตฺต ปฏิภาติ, ปฏิภาตุ ตํ อาวุโส
โมคคลฺลาน” และปรากฏใน องฺ.ทสก. 24/67/97 ว่า “ปฏิภาตุ ตํ สารีปุตฺต ภิกฺขูนํ ธมฺมีกถา”
2 ฉลาดในอรรถ หมายถึงฉลาดในอรรถกถา ฉลาดในธรรม หมายถึงฉลาดในพระบาลี ฉลาดในพยัญชนะ
หมายถึงฉลาดในด้านอักษรศาสตร์ ฉลาดในนิรุตติ หมายถึงฉลาดในภาษาศาสตร์ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/169/
65) ฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย ในที่นี้หมายถึงฉลาดในเบื้องต้นเบื้องปลาย 5 ประการ คือ
(1) เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอรรถ (2) เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งธรรม (3) เบื้องต้นและเบื้องปลาย
แห่งบท (4) เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอักขระ (5) เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอนุสนธิ (องฺ.ปญฺจก.อ.
3/169/65-66)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :284 }