เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 2. อาฆาตวรรค 7. โจทนาสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เรื่องพึงเป็นอย่างนั้น แต่โมฆบุรุษบางพวก
ในธรรมวินัยนี้ เมื่อถูกกล่าวสอน ย่อมไม่รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเหล่าใดไม่มี
ศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต มิใช่มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้
โอ้อวด มีมารยา เกเร ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ ไม่คุ้มครอง
ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ไม่ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่ ไม่มุ่งหวังความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา เป็น
ผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำในโอกกมนธรรม1 ทอดธุระในปวิเวก เกียจคร้าน
มีความเพียรต่ำ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง มีปัญญา
ทราม เป็นคนเซอะ2 คนเหล่านั้น เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ ย่อมไม่
รับฟังโอวาทโดยเคารพ
ส่วนกุลบุตรเหล่าใดมีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด ไม่มี
มารยา ไม่เกเร ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่ปากกล้า ไม่พูดพร่ำเพรื่อ
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่ มุ่งหวังความเป็นสมณะ มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา
ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภ
ความเพียร อุทิศกายและใจ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่
มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ กุลบุตรเหล่านั้น เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้
ย่อมรับฟังโอวาทโดยเคารพ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการ
เลี้ยงชีวิต ไม่มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เกเร
ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ ไม่มุ่งหวังความ

เชิงอรรถ :
1 โอกกมนธรรม ในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ 5 คือ (1) กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) (2) พยาบาท (ความคิดร้าย)
(3) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) (4) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) (5) วิจิกิจฉา
(ความลังเลสังสัย) (องฺ.ทุก.อ. 2/45/53)
2 ดูเชิงอรรถที่ 4 ข้อ 112 (ปัจฉาสมณสูตร) หน้า 190 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :281 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 2. อาฆาตวรรค 8. สีลสูตร
เป็นสมณะ ไม่มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา เป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน
เป็นผู้นำในโอกกมนธรรม ทอดธุระในปวิเวก เกียจคร้าน มีความเพียรต่ำ หลงลืมสติ
ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ บุคคล
เหล่านั้น จงยกไว้
สารีบุตร ส่วนกุลบุตรเหล่าใดมีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด
ไม่มีมารยา ไม่เกเร ไม่ฟุ้งซ้าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่ปากกล้า ไม่พูดพร่ำเพรื่อ
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่ มุ่งหวังความเป็นสมณะ มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา ไม่มักมาก
ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียร อุทิศ
กายและใจ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็น
คนเซอะ สารีบุตร เธอพึงว่ากล่าวกุลบุตรเหล่านั้น จงกล่าวสอนเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลาย จงพร่ำสอนเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายด้วยหวังว่า ‘เราจักยกเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายขึ้นจากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม’
สารีบุตร เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
โจทนาสูตรที่ 7 จบ

8. สีลสูตร
ว่าด้วยโทษแห่งความทุศีลและคุณแห่งความมีศีล
[168] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย สัมมาสมาธิของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อ
สัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูต-
ญาณทัสสนะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณ-
ทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมา-
สมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :282 }