เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 2. อาฆาตวรรค 7. โจทนาสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งมั่นธรรม 5 ประการนี้
ไว้ในตนแล้วจึงโจทผู้อื่น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ถูกผู้อื่นโจทในกาล
อันไม่ควร ไม่ถูกโจทในกาลอันควร ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ไม่ถูก
โจทด้วยถ้อยคำจริง ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยถ้อยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำ
อ่อนหวาน ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจท
ด้วยถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่ถูก
โจทด้วยเมตตาจิต ก็โกรธ
ภิกษุพึงให้อวิปปฏิสาร (ความไม่ร้อนใจ) เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็น
ธรรม โดยอาการ 5 คือ
1. ท่านถูกโจทในกาลอันไม่ควร ไม่ถูกโจทในกาลอันควร ท่านจึงควร
มีอวิปปฏิสาร
2. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำจริง ท่านจึง
ควรมีอวิปปฏิสาร
3. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน
ท่านจึงควรมีอวิปปฏิสาร
4. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วย
ถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรมีอวิปปฏิสาร
5. ท่านถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงควรมี
อวิปปฏิสาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุพึงให้มีอวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็น
ธรรม โดยอาการ 5 นี้
ภิกษุพึงให้วิปปฏิสาร(ความร้อนใจ)เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยไม่เป็นธรรม
โดยอาการ 5 คือ
1. ท่านโจทในกาลอันไม่ควร ไม่โจทในกาลอันควร ท่านจึงควรมีวิปปฏิสาร
2. ท่านโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ไม่โจทด้วยถ้อยคำจริง ท่านจึงควรมี
วิปปฏิสาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :278 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 2. อาฆาตวรรค 7. โจทนาสูตร
3. ท่านโจทด้วยถ้อยคำหยาบ ไม่โจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน ท่านจึง
ควรมีวิปปฏิสาร
4. ท่านโจทด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยถ้อยคำ
อันประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรมีวิปปฏิสาร
5. ท่านโจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่โจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงควรมี
วิปปฏิสาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุพึงให้วิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยไม่เป็นธรรม
โดยอาการ 5 นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุแม้รูปอื่น ไม่พึงเข้าใจว่า ควรโจท
ด้วยถ้อยคำไม่จริง
ข้าพเจ้าเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ถูกโจทในกาลอันควร ไม่ถูกโจทใน
กาลอันไม่ควร ก็โกรธ ถูกโจทด้วยถ้อยคำจริง ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ก็โกรธ
ถูกโจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำหยาบ ก็โกรธ ถูกโจทด้วยถ้อย
คำอันประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ก็โกรธ
ภิกษุพึงให้วิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม โดยอาการ 5 คือ
1. ท่านถูกโจทในกาลอันควร ไม่ถูกโจทในกาลอันไม่ควร ท่านจึงควรมี
วิปปฏิสาร
2. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำจริง ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ท่านจึง
ควรมีวิปปฏิสาร
3. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำหยาบ
ท่านจึงควรมีวิปปฏิสาร
4. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วย
ถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรมีวิปปฏิสาร
5. ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงควรมี
วิปปฏิสาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :279 }