เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 2. อาฆาตวรรค 7. โจทนาสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็น
ที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อุปวานะ ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรม 5
ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย หากภิกษุเถระไม่มีธรรม 5 ประการนี้ เพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอเพราะความเป็นผู้มีฟันหัก มีผมหงอก
มีหนังย่น เพื่ออะไร แต่เพราะภิกษุเถระมีธรรม 5 ประการนี้ เพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายจึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ”
นิโรธสูตรที่ 6 จบ

7. โจทนาสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้เป็นโจทก์1
[167] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งมั่นธรรม 5 ประการไว้ในตน
แล้วจึงโจทผู้อื่น
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เราจักกล่าวในกาลอันควร จักไม่กล่าวในกาลอันไม่ควร
2. เราจักกล่าวถ้อยคำจริง จักไม่กล่าวถ้อยคำไม่จริง
3. เราจักกล่าวถ้อยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวถ้อยคำหยาบ
4. เราจักกล่าวถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวถ้อยคำ
อันไม่ประกอบด้วยประโยชน์
5. เราจักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เพ่งโทษกล่าว

เชิงอรรถ :
1 ผู้เป็นโจทก์ ในที่นี้หมายถึงผู้โจทก์ด้วยเรื่องสำหรับโจท 4 อย่าง คือ (1) วัตถุสันทัสสนา แสดงเรื่องที่ต้องอาบัติ
(2) อาปัตติสันทัสสนา แสดงอาบัติที่ล่วงละเมิด (3) สังวาสัปปฏิกเขปะ ห้ามสังวาสคือไม่ร่วมสังฆกรรม
มีอุโบสถกรรมและปวารณากรรมเป็นต้น (4) สามีจิปฏิกเขปะ ไม่ทำสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้น
(องฺ.ปญฺจก.อ. 3/167/65, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/167-9-6/64)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :277 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 2. อาฆาตวรรค 7. โจทนาสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งมั่นธรรม 5 ประการนี้
ไว้ในตนแล้วจึงโจทผู้อื่น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ถูกผู้อื่นโจทในกาล
อันไม่ควร ไม่ถูกโจทในกาลอันควร ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ไม่ถูก
โจทด้วยถ้อยคำจริง ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยถ้อยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำ
อ่อนหวาน ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจท
ด้วยถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่ถูก
โจทด้วยเมตตาจิต ก็โกรธ
ภิกษุพึงให้อวิปปฏิสาร (ความไม่ร้อนใจ) เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็น
ธรรม โดยอาการ 5 คือ
1. ท่านถูกโจทในกาลอันไม่ควร ไม่ถูกโจทในกาลอันควร ท่านจึงควร
มีอวิปปฏิสาร
2. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำจริง ท่านจึง
ควรมีอวิปปฏิสาร
3. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน
ท่านจึงควรมีอวิปปฏิสาร
4. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วย
ถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรมีอวิปปฏิสาร
5. ท่านถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงควรมี
อวิปปฏิสาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุพึงให้มีอวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็น
ธรรม โดยอาการ 5 นี้
ภิกษุพึงให้วิปปฏิสาร(ความร้อนใจ)เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยไม่เป็นธรรม
โดยอาการ 5 คือ
1. ท่านโจทในกาลอันไม่ควร ไม่โจทในกาลอันควร ท่านจึงควรมีวิปปฏิสาร
2. ท่านโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ไม่โจทด้วยถ้อยคำจริง ท่านจึงควรมี
วิปปฏิสาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :278 }