เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 2. อาฆาตวรรค 2. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร
เป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม
ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น’ ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้น
อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย อุบายกำจัดอาฆาต 5 ประการนี้แล เป็นเครื่องกำจัดอาฆาต
ที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุได้อย่างสิ้นเชิง
ปฐมอาฆาตปฏิวินยสูตรที่ 1 จบ

2. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร
ว่าด้วยอุบายกำจัดอาฆาต สูตรที่ 2
[162] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มี
อายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย อุบายกำจัดอาฆาต 5 ประการนี้ เป็นเครื่องกำจัดอาฆาตที่
เกิดขึ้นแก่ภิกษุได้อย่างสิ้นเชิง
อุบายกำจัดอาฆาต 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
แต่มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์
2. ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
แต่มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
3. ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่ได้ช่องแห่งใจ1ได้ความ
เลื่อมใสทางใจตามกาลอันควร


เชิงอรรถ :
1 ได้ช่องแห่งใจ หมายถึงได้โอกาสให้วิปัสสนาจิตเกิดขึ้น (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/162/61)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :266 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 2. อาฆาตวรรค 2. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร
4. ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ และไม่ได้ช่องแห่งใจ ไม่ได้
ความเลื่อมใสทางใจตามกาลอันควร
5. ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ และได้ช่องแห่งใจ ได้ความเลื่อมใส
ทางใจตามกาลอันควร
บรรดาบุคคล 5 จำพวกนั้น
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ แต่มี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ อย่างไร
คือ บุคคลใดมีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ แต่มีความประพฤติทาง
วาจาบริสุทธิ์ ความประพฤติทางกายที่ไม่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุไม่พึงใส่ใจ
ส่วนนั้นในเวลานั้น ส่วนความประพฤติทางวาจาที่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุก็พึง
ใส่ใจแต่ส่วนนั้นในเวลานั้น เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร พบผ้าเก่า
ที่ถนน เหยียบให้มั่นด้วยเท้าซ้าย เขี่ยออกดูด้วยเท้าขวา ส่วนใดยังใช้ได้ก็เลือกถือ
เอาส่วนนั้นแล้วจากไป
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่มี
ความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ อย่างไร
คือ บุคคลใดมีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่มีความประพฤติทางกาย
บริสุทธิ์ ความประพฤติทางวาจาที่ไม่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุไม่พึงใส่ใจส่วนนั้น
ในเวลานั้น ส่วนความประพฤติทางกายที่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุก็พึงใส่ใจแต่
ส่วนนั้นในเวลานั้น เปรียบเหมือนสระน้ำที่ถูกสาหร่ายและแหนคลุมไว้ คนเดินทาง
มาถูกความร้อนกระทบ ร้อนอบอ้าว เหนื่อยอ่อน กระหายน้ำ เขาจึงลงสระน้ำนั้น
แหวกสาหร่ายและแหนด้วยมือทั้งสองแล้วกอบน้ำขึ้นดื่มแล้วจึงจากไป
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :267 }