เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 1. สัทธัมมวรรค 7. ทุกกถาสูตร
บุคคลผู้มีศรัทธานั้น พิจารณาเห็นสัทธาสัมปทาในตน และได้ปีติปราโมทย์ที่มีสัทธา-
สัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องศรัทธา จึงเป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศรัทธา
การพูดเรื่องศีล เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศีล เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีศีล เมื่อพูดเรื่องศีล ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท
ไม่ขึ้งเคียด ไม่แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีศีลนั้นพิจารณาเห็นสีลสัมปทาในตน และได้ปีติปราโมทย์ที่มี
สีลสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องศีล จึงเป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศีล
การพูดเรื่องพาหุสัจจะ เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้เป็นพหูสูต เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้เป็นพหูสูต เมื่อพูดเรื่องพาหุสัจจะ ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง
ไม่พยาบาท ไม่ขึ้งเคียด ไม่แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะบุคคลผู้เป็นพหูสูตนั้น พิจารณาเห็นสุตสัมปทาในตน และได้ปีติ-
ปราโมทย์ที่มีสุตสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องพาหุสัจจะ จึงเป็นเรื่องดี
สำหรับบุคคลผู้เป็นพหูสูต
การพูดเรื่องจาคะ เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีจาคะ เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีจาคะ เมื่อพูดเรื่องจาคะ ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท
ไม่ขึ้งเคียด ไม่แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีจาคะนั้นพิจารณาเห็นจาคสัมปทาในตน และได้ปีติปราโมทย์ที่มี
จาคสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องจาคะ จึงเป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีจาคะ
การพูดเรื่องปัญญา เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีปัญญา เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีปัญญา เมื่อพูดเรื่องปัญญา ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท
ไม่ขึ้งเคียด ไม่แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
บุคคลผู้มีปัญญานั้นพิจารณาเห็นปัญญาสัมปทาในตน และได้ปีติปราโมทย์ที่มี
ปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องปัญญา จึงเป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มี
ปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย การพูด เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคล 5 จำพวกนี้แล เมื่อเทียบ
บุคคลกับบุคคล
ทุกกถาสูตรที่ 7 จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :261 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 1. สัทธัมมวรรค 8. สารัชชสูตร
8. สารัชชสูตร
ว่าด้วยความครั่นคร้ามและความแกล้วกล้า
[158] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมถึงความ
ครั่นคร้าม
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
2. เป็นผู้ทุศีล
3. เป็นผู้มีสุตะน้อย
4. เป็นผู้เกียจคร้าน
5. เป็นผู้มีปัญญาทราม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมถึงความ
ครั่นคร้าม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้ ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีศรัทธา
2. เป็นผู้มีศีล
3. เป็นพหูสูต
4. เป็นผู้ปรารภความเพียร
5. เป็นผู้มีปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า
สารัชชสูตรที่ 8 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :262 }