เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 1. สัทธัมมวรรค 7. ทุกกถาสูตร
การพูดเรื่องจาคะ เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ตระหนี่ เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้ตระหนี่ เมื่อพูดเรื่องจาคะ ก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด
แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้ตระหนี่นั้น
ไม่พิจารณาเห็นจาคสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยจาคะ)ในตน และไม่ได้ปีติปราโมทย์
ที่มีจาคสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องจาคะจึงเป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้
ตระหนี่
การพูดเรื่องปัญญา เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้มีปัญญาทราม เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีปัญญาทราม เมื่อพูดเรื่องปัญญา ก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท
ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้
มีปัญญาทรามนั้นไม่พิจารณาเห็นปัญญาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)ในตน
และไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องปัญญา จึง
เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้มีปัญญาทราม
ภิกษุทั้งหลาย การพูด เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคล 5 จำพวกนี้แล เมื่อเทียบ
บุคคลกับบุคคล
ภิกษุทั้งหลาย การพูด เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคล 5 จำพวก เมื่อเทียบบุคคล
กับบุคคล
การพูด เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคล 5 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. การพูดเรื่องศรัทธา เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศรัทธา
2. การพูดเรื่องศีล เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศีล
3. การพูดเรื่องพาหุสัจจะ เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้เป็นพหูสูต
4. การพูดเรื่องจาคะ เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีจาคะ
5. การพูดเรื่องปัญญา เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีปัญญา
การพูดเรื่องศรัทธา เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศรัทธา เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธา ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท
ไม่ขึ้งเคียด ไม่แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :260 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 1. สัทธัมมวรรค 7. ทุกกถาสูตร
บุคคลผู้มีศรัทธานั้น พิจารณาเห็นสัทธาสัมปทาในตน และได้ปีติปราโมทย์ที่มีสัทธา-
สัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องศรัทธา จึงเป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศรัทธา
การพูดเรื่องศีล เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศีล เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีศีล เมื่อพูดเรื่องศีล ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท
ไม่ขึ้งเคียด ไม่แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีศีลนั้นพิจารณาเห็นสีลสัมปทาในตน และได้ปีติปราโมทย์ที่มี
สีลสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องศีล จึงเป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศีล
การพูดเรื่องพาหุสัจจะ เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้เป็นพหูสูต เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้เป็นพหูสูต เมื่อพูดเรื่องพาหุสัจจะ ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง
ไม่พยาบาท ไม่ขึ้งเคียด ไม่แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะบุคคลผู้เป็นพหูสูตนั้น พิจารณาเห็นสุตสัมปทาในตน และได้ปีติ-
ปราโมทย์ที่มีสุตสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องพาหุสัจจะ จึงเป็นเรื่องดี
สำหรับบุคคลผู้เป็นพหูสูต
การพูดเรื่องจาคะ เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีจาคะ เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีจาคะ เมื่อพูดเรื่องจาคะ ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท
ไม่ขึ้งเคียด ไม่แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีจาคะนั้นพิจารณาเห็นจาคสัมปทาในตน และได้ปีติปราโมทย์ที่มี
จาคสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องจาคะ จึงเป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีจาคะ
การพูดเรื่องปัญญา เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีปัญญา เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีปัญญา เมื่อพูดเรื่องปัญญา ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท
ไม่ขึ้งเคียด ไม่แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
บุคคลผู้มีปัญญานั้นพิจารณาเห็นปัญญาสัมปทาในตน และได้ปีติปราโมทย์ที่มี
ปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องปัญญา จึงเป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มี
ปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย การพูด เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคล 5 จำพวกนี้แล เมื่อเทียบ
บุคคลกับบุคคล
ทุกกถาสูตรที่ 7 จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :261 }