เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 1. สัทธัมมวรรค 7. ทุกกถาสูตร
3. การพูดเรื่องพาหุสัจจะ1 เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้มีสุตะ2น้อย
4. การพูดเรื่องจาคะ เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ตระหนี่
5. การพูดเรื่องปัญญา เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้มีปัญญาทราม
การพูดเรื่องศรัทธา เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธา ก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท
ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคล
ผู้ไม่มีศรัทธานั้น ไม่พิจารณาเห็นสัทธาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)ในตน
และไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีสัทธาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องศรัทธา จึงเป็น
เรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา
การพูดเรื่องศีล เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ทุศีล เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้ทุศีล เมื่อพูดเรื่องศีล ก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด
แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ทุศีลนั้น ไม่เห็น
สีลสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศีล)ในตน และไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีสีลสัมปทานั้น
เป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องศีลจึงเป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ทุศีล
การพูดเรื่องพาหุสัจจะ เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้มีสุตะน้อย เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีสุตะน้อย เมื่อพูดเรื่องพาหุสัจจะ ก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท
ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้
มีสุตะน้อยนั้น ไม่พิจารณาเห็นสุตสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยสุตะ)ในตน และไม่ได้
ปีติปราโมทย์ที่มีสุตสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องพาหุสัจจะ จึงเป็นเรื่อง
ไม่ดีสำหรับบุคคลผู้มีสุตะน้อย

เชิงอรรถ :
1 ดูความหมายของพหูสูตในเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 156 หน้า 256 ในเล่มนี้
2 สุตะ ในที่นี้หมายถึงนวังคสัตถุศาสน์ (คำสอนของพระศาสดามีองค์ 9) คือ (1) สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย
รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส) (2) เคยยะ (ข้อความร้อยแก้วผสมร้อยกรอง ได้แก่พระสูตรที่มีคาถา
ทั้งหมด) (3) เวยยากรณะ (ข้อความร้อยแก้ว) (4) คาถา (ข้อความร้อยกรอง) (5) อุทาน (พระคาถา
พุทธอุทาน) (6) อิติวุตตกะ (พระสูตรที่ตรัสอ้างอิง) (7) ชาตกะ (ชาดก 550 เรื่อง) (8) อัพภูตธรรม
(เรื่องอัศจรรย์) (9) เวทัลละ (พระสูตรแบบถาม-ตอบ) (องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/6/10)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :259 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 1. สัทธัมมวรรค 7. ทุกกถาสูตร
การพูดเรื่องจาคะ เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ตระหนี่ เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้ตระหนี่ เมื่อพูดเรื่องจาคะ ก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด
แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้ตระหนี่นั้น
ไม่พิจารณาเห็นจาคสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยจาคะ)ในตน และไม่ได้ปีติปราโมทย์
ที่มีจาคสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องจาคะจึงเป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้
ตระหนี่
การพูดเรื่องปัญญา เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้มีปัญญาทราม เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีปัญญาทราม เมื่อพูดเรื่องปัญญา ก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท
ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้
มีปัญญาทรามนั้นไม่พิจารณาเห็นปัญญาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)ในตน
และไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องปัญญา จึง
เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้มีปัญญาทราม
ภิกษุทั้งหลาย การพูด เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคล 5 จำพวกนี้แล เมื่อเทียบ
บุคคลกับบุคคล
ภิกษุทั้งหลาย การพูด เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคล 5 จำพวก เมื่อเทียบบุคคล
กับบุคคล
การพูด เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคล 5 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. การพูดเรื่องศรัทธา เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศรัทธา
2. การพูดเรื่องศีล เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศีล
3. การพูดเรื่องพาหุสัจจะ เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้เป็นพหูสูต
4. การพูดเรื่องจาคะ เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีจาคะ
5. การพูดเรื่องปัญญา เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีปัญญา
การพูดเรื่องศรัทธา เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศรัทธา เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธา ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท
ไม่ขึ้งเคียด ไม่แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :260 }