เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 1. สัทธัมมวรรค 6. ตติยสัมธัมมสัมโมสสูตร
5. สงฆ์แตกแยกกัน เมื่อสงฆ์แตกแยกกัน จึงมีการด่ากัน มีการ
บริภาษกัน มีการใส่ร้ายกัน มีการทอดทิ้งกัน หมู่คนที่ยังไม่เลื่อมใส
ในสงฆ์นั้น ก็ไม่เลื่อมใส และหมู่คนที่เลื่อมใสแล้วก็กลายเป็นอื่นไป นี้
เป็นธรรมประการที่ 5 ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่ง
สัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไป
แห่งสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ
ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุเล่าเรียนพระสูตรที่เล่าเรียนมาดี ด้วยบทพยัญชนะที่สืบทอด
กันมาดี แม้อรรถแห่งบทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาดี ก็ชื่อว่า
เป็นการสืบทอดขยายความดี นี้เป็นธรรมประการที่ 1 ย่อมเป็น
ไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
2. ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
อดทนรับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้เป็นธรรมประการที่ 2 ย่อม
เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
3. ภิกษุเป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ถ่ายทอดสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป สูตร
ไม่ขาดรากฐาน มีที่พึ่งอาศัย นี้เป็นธรรมประการที่ 3 ย่อมเป็น
ไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
4. ภิกษุเป็นเถระ ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม
เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่างภิกษุเถระเหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลัง
นั้นก็ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม เป็นผู้นำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :257 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 1. สัทธัมมวรรค 7. ทุกกถาสูตร
ในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรม
ประการที่ 4 ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หาย
ไปแห่งสัทธรรม
5. สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน มีอุทเทสที่สวด
ร่วมกัน1อยู่ผาสุก เมื่อสงฆ์พร้อมเพรียงกัน จึงไม่มีการด่ากัน
ไม่มีการบริภาษกัน ไม่มีการใส้ร้ายกัน ไม่มีการทอดทิ้งกัน
หมู่คนที่ยังไม่เลื่อมใสในสงฆ์นั้นก็เลื่อมใส และหมู่คนที่เลื่อมใสแล้ว
ก็เลื่อมใสยิ่งขึ้น นี้เป็นธรรมประการที่ 5 ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่
เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ตติยสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ 6 จบ

7. ทุกกถาสูตร
ว่าด้วยการพูดเป็นเรื่องไม่ดีและเรื่องดีสำหรับผู้อื่น
[157] ภิกษุทั้งหลาย การพูด เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคล 5 จำพวก เมื่อ
เทียบบุคคลกับบุคคล
การพูด เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคล 5 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. การพูดเรื่องศรัทธา เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา
2. การพูดเรื่องศีล เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ทุศีล

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 54 (สมยสูตร) หน้า 94 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :258 }