เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 1. สัทธัมมวรรค 6. ตติยสัมธัมมสัมโมสสูตร
5. ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมา นี้เป็นธรรมประการที่ 5 ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น
ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ทุติยสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ 5 จบ

6. ตติยสัทธัมมสัมโมสสูตร
ว่าด้วยเหตุเสื่อมแห่งพระสัทธรรม สูตรที่ 3
[156] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
หายไปแห่งสัทธรรม
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เล่าเรียนพระสูตรที่เล่าเรียนกันมาไม่ดี ด้วยบท
พยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี1 แม้อรรถ2แห่งบทพยัญชนะที่สืบ
ทอดกันมาไม่ดีก็ชื่อว่าเป็นการสืบทอดขยายความไม่ดี นี้เป็นธรรม
ประการที่ 1 ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม
2. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้
เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทนรับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้เป็นธรรม
ประการที่ 2 ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม

เชิงอรรถ :
1 บทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี หมายถึงบทบาลีที่สืบทอดกันมาผิดระเบียบ (องฺ.ทุก.อ. 2/20/28)
และดู องฺ.ทุก. (แปล) 20/20/72
2 อรรถ ในที่นี้หมายถึงอรรถกถาที่สวดสืบทอดกันมาผิดระเบียบ (องฺ.ทุก.อ. 2/20/28)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :255 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 1. สัทธัมมวรรค 6. ตติยสัมธัมมสัมโมสสูตร
3. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย
ทรงมาติกา1 ไม่ถ่ายทอดสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้น
ล่วงลับไป สูตรก็ขาดรากฐาน ไม่มีที่พึ่งอาศัย นี้เป็นธรรมประการ
ที่ 3 ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม
4. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นเถระ ผู้มักมาก ย่อหย่อน2 เป็นผู้นำใน
โอกกมนธรรม3 ทอดธุระในปวิเวก4 ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึง
ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่
ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่างภิกษุเถระเหล่านั้น
แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็เป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำใน
โอกกมนธรรมทอดธุระในปวิเวก ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่
ได้ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรมประการที่ 4 ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม
สูญหายไปแห่ง สัทธรรม

เชิงอรรถ :
1 เป็นพหูสูต หมายถึงได้สดับพระพุทธพจน์ หรือได้เล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์(คำสอนของพระศาสดามีองค์ 9)
เรียนจบคัมภีร์ หมายถึงเรียนจบพระพุทธพจน์คือ พระไตรปิฎก 5 นิกาย ได้แก่ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย
สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย
ทรงธรรม หมายถึงทรงจำพระสุตตันตปิฎก
ทรงวินัย หมายถึงทรงจำพระวินัยปิฎก
ทรงมาติกา หมายถึงทรงจำพระปาติโมกข์ทั้งสอง คือ ภิกขุปาติโมกข์ และภิกขุณีปาติโมกข์ (องฺ.ติก.อ.
2/20/97-98)
2 ย่อหย่อน ในที่นี้หมายถึงยึดถือปฏิบัติตามคำสั่งสอนโดยไม่เคร่งครัด (องฺ.ทุก.อ. 2/45/53)
3 โอกกมนธรรม หมายถึงนิวรณ์ 5 คือ (1) กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) (2) พยาบาท (ความคิดร้าย)
(3) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) (4) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) (5) วิจิกิจฉา
(ความลังเลสงสัย) (องฺ.ทุก.อ. 2/45/53)
4 ปวิเวก หมายถึงอุปธิวิเวก คือความสงัดจากอุปธิ (สภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้ซึ่งทุกข์ ได้แก่ กาม กิเลส
เบญจขันธ์ และอภิสังขาร) อีกนัยหนึ่ง หมายถึงนิพพาน (องฺ.ทุก.อ. 2/45/53)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :256 }