เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 1. สัทธัมมวรรค 3. ตติยสัมมัตตนิยามสูตร
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ไม่วิพากษ์วิจารณ์คำพูด
2. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด
3. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ตน
4. มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ
5. ไม่ถือตัวว่ารู้ในสิ่งที่ตนยังไม่รู้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่
เป็นผู้อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ทุติยสัมมัตตนิยามสูตรที่ 2 จบ

3. ตติยสัมมัตตนิยามสูตร
ว่าด้วยสัมมัตตนิยาม สูตรที่ 3
[153] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 5
ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็ไม่อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม ถูกความลบหลู่คุณท่านกลุ้มรุมฟังธรรม
2. มีจิตแข่งดี คอยจับผิดฟังธรรม
3. มีจิตกระทบ มีจิตกระด้างในผู้แสดงธรรม
4. มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ
5. ถือตัวว่ารู้ในสิ่งที่ตนยังไม่รู้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล แม้ฟังธรรมอยู่ก็ไม่
อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ฟังสัทธรรมอยู่
เป็นผู้อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :251 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 1. สัทธัมมวรรค 4. ปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตร
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ไม่ลบหลู่คุณท่าน ไม่ถูกความลบหลู่คุณท่านกลุ้มรุมฟังธรรม
2. ไม่มีจิตแข่งดี ไม่คอยจับผิดฟังธรรม
3. ไม่มีจิตกระทบ ไม่มีจิตกระด้างในผู้ฟังธรรม
4. มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ
5. ไม่ถือตัวว่ารู้ในสิ่งที่ตนยังไม่รู้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ฟังธรรมอยู่ เป็นผู้
อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ตติยสัมมัตตนิยามสูตรที่ 3 จบ

4. ปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตร
ว่าด้วยเหตุเสื่อมแห่งพระสัทธรรม สูตรที่ 1
[154] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
หายไปแห่งสัทธรรม
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ
2. ไม่เรียนธรรมโดยเคารพ
3. ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ
4. ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้วโดยเคารพ
5. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไป
แห่งสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ
ไม่หายไปแห่งสัทธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :252 }