เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 1. สัทธัมมวรรค 2. ทุติยสัมมัตตนิยามสูตร
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ไม่วิพากษ์วิจารณ์คำพูด
2. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด
3. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ตน
4. เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน คือมีจิตแน่วแน่ฟังธรรม
5. มนสิการโดยแยบคาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่
เป็นผู้อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ปฐมสัมมัตตนิยามสูตรที่ 1 จบ

2. ทุติยสัมมัตตนิยามสูตร
ว่าด้วยสัมมัตตนิยาม สูตรที่ 2
[152] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 5 ประการ แม้ฟัง
สัทธรรมอยู่ ก็ไม่อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. วิพากษ์วิจารณ์คำพูด
2. วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด
3. วิพากษ์วิจารณ์ตน
4. มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ1
5. ถือตัวว่ารู้ในสิ่งที่ตนยังไม่รู้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่
ก็ไม่อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ เป็นผู้
อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 4 ข้อ 112 (ปัจฉาสมณสูตร) หน้า 190 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :250 }