เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 5. ติกัณฑกีวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน
2. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย
3. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ
4. ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
5. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็น
สมยวิมุต
ทุติยสมยวิมุตตสูตรที่ 10 จบ
ติกัณฑกีวรรคที่ 5 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อวชานาติสูตร 2. อารภติสูตร
3. สารันททสูตร 4. ติกัณฑกีสูตร
5. นิรยสูตร 6. มิตตสูตร
7. อสัปปุริสทานสูตร 8. สัปปุริสทานสูตร
9. ปฐมสมยวิมุตตสูตร 10. ทุติยสมยวิมุตตสูตร

ตติยปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :248 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 1. สัทธัมมวรรค 1. ปฐมสัมมัตตนิยามสูตร
4. จตุตถปัณณาสก์
1. สัทธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยพระสัทธรรม
1. ปฐมสัมมัตตนิยามสูตร
ว่าด้วยสัมมัตตนิยาม1 สูตรที่ 1
[151] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 5
ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็ไม่อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. วิพากษ์วิจารณ์คำพูด2
2. วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด3
3. วิพากษ์วิจารณ์ตน4
4. เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน คือมีจิตไม่แน่วแน่ฟังธรรม
5. มนสิการโดยไม่แยบคาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่
ก็ไม่อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ฟังสัทธรรมอยู่
เป็นผู้อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1 สัมมัตตนิยาม ในที่นี้หมายถึงอริยมรรคมีองค์ 8 (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/151/59, สํ.ข.อ. 2/302-311/378)
และดู สํ.ข. 17/302-311/187-191 ประกอบ
2 วิพากษ์วิจารณ์คำพูด หมายถึงพูดว่า “นั่นเรื่องอะไร” (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/151/59)
3 วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด หมายถึงพูดว่า “ผู้นั้นพูดเรื่องอะไร ผู้นี้จะรู้อะไร” (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/151/59)
4 วิพากษ์วิจารณ์ตน หมายถึงพูดว่า “เรารู้หรือว่า คำพูดนั้นของเรามีน้ำหนักที่น่าเชื่อถือได้แค่ไหนกัน”
(องฺ.ปญฺจก.อ. 3/151/59)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :249 }