เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 5. ติกัณฑกีวรรค 8. สัปปุริสทานสูตร
3. ให้ทานตามกาลอันควร
4. เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน
5. ให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่น1
ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษครั้นให้ทานด้วยศรัทธาแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์
มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนักในที่
ที่ทานนั้นเผล็ดผล
ครั้นให้ทานโดยเคารพแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และ
เป็นผู้ที่บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ และกรรมกรตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งใจใฝ่รู้
ครั้นให้ทานตามกาลอันควรแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และเป็นผู้มีความปรารถนาที่เกิดขึ้นตามกาลบริบูรณ์ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล
ครั้นเป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทานแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะ
มาก และเป็นผู้มีจิตน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ 5 สูงยิ่งขึ้นในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล
ครั้นให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะ
มาก และเป็นผู้มีโภคทรัพย์ ไม่มีภยันตรายมาแต่ที่ไหน ๆ คือ จากไฟ จากน้ำ
จากพระราชา จากโจร จากคนไม่เป็นที่รัก หรือจากทายาทในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล
ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน 5 ประการนี้แล
สัปปุริสทานสูตรที่ 8 จบ

เชิงอรรถ :
1 ให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่น หมายถึงให้ทานโดยไม่ลบหลู่คุณของตนและผู้อื่น (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/148/
58)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :245 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 5. ติกัณฑกีวรรค 9. ปฐมสมยวิมุตตสูตร
9. ปฐมสมยวิมุตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้เป็นสมยวิมุต1 สูตรที่ 1
[149] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นสมยวิมุต
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความเป็นผู้ชอบการงาน2
2. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
3. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
4. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
5. ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็น
สมยวิมุต
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็น
สมยวิมุต
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน
2. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย

เชิงอรรถ :
1 ภิกษุผู้เป็นสมยวิมุต หมายถึงภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นด้วยสมยวิมุตติ (ความหลุดพ้นชั่วคราว) ซึ่งหมายถึง
สมาบัติ 8 เป็นโลกิยวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายที่ข่มได้ในขณะที่จิตแน่วแน่เป็นครั้งคราวตรง
ข้ามกับภิกษุผู้เป็นอสมยวิมุตคือ ภิกษุขีณาสพผู้หลุดพ้นด้วยอสมยวิมุตติ (ความหลุดพ้นที่ไม่ขึ้นต่อสมัย
คือยั่งยืนเรื่อยไป) (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/149/58) และดู ม.มู. 12/311/278-280, องฺ.เอกาทสก. (แปล)
24/13/420
2 การงาน ในที่นี้หมายถึงงานนวกรรม คือ การก่อสร้างต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างวิหารเป็นต้น ความเป็นผู้
ยินดีแต่การก่อสร้างที่ถือว่าเป็นความเสื่อมเพราะทำให้ละเลยต่อการบำเพ็ญคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ
(องฺ.ฉกฺก.อ. 3/14/105, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/14-15/118) และดู อภิ.ก. 37/267/88

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :246 }