เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 5. ติกัณฑกีวรรค 8. สัปปุริสทานสูตร
3. ไม่ให้ด้วยมือตนเอง
4. ให้ของที่เป็นเดน
5. ไม่เห็นผลที่จะพึงมาถึงก็ให้
ภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริสทาน 5 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน(ทานของสัตบุรุษ) 5 ประการนี้
สัปปุริสทาน 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ให้โดยเคารพ1
2. ให้โดยความอ่อนน้อม
3. ให้ด้วยมือตนเอง
4. ให้ของที่ไม่เป็นเดน
5. เห็นผลที่จะพึงมาถึงจึงให้2
ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน 5 ประการนี้แล
อสัปปุริสทานสูตรที่ 7 จบ

8. สัปปุริสทานสูตร
ว่าด้วยสัปปุริสทาน
[148] ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน 5 ประการนี้
สัปปุริสทาน 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ให้ทานด้วยศรัทธา
2. ให้ทานโดยเคารพ

เชิงอรรถ :
1 ให้โดยเคารพ หมายถึงให้โดยเคารพทั้งในไทยธรรมและในพระทักขิไณยบุคคล (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/147/57)
2 เห็นผลที่จะพึงมาถึงจึงให้ หมายถึงเชื่อกรรมและผลของกรรมแล้วให้ทานด้วยคิดว่า “ทานนี้จักเป็นปัจจัย
แห่งความมีในอนาคต” (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/147/57)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :244 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 5. ติกัณฑกีวรรค 8. สัปปุริสทานสูตร
3. ให้ทานตามกาลอันควร
4. เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน
5. ให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่น1
ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษครั้นให้ทานด้วยศรัทธาแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์
มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนักในที่
ที่ทานนั้นเผล็ดผล
ครั้นให้ทานโดยเคารพแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และ
เป็นผู้ที่บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ และกรรมกรตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งใจใฝ่รู้
ครั้นให้ทานตามกาลอันควรแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และเป็นผู้มีความปรารถนาที่เกิดขึ้นตามกาลบริบูรณ์ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล
ครั้นเป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทานแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะ
มาก และเป็นผู้มีจิตน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ 5 สูงยิ่งขึ้นในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล
ครั้นให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะ
มาก และเป็นผู้มีโภคทรัพย์ ไม่มีภยันตรายมาแต่ที่ไหน ๆ คือ จากไฟ จากน้ำ
จากพระราชา จากโจร จากคนไม่เป็นที่รัก หรือจากทายาทในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล
ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน 5 ประการนี้แล
สัปปุริสทานสูตรที่ 8 จบ

เชิงอรรถ :
1 ให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่น หมายถึงให้ทานโดยไม่ลบหลู่คุณของตนและผู้อื่น (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/148/
58)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :245 }