เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 5. ติกัณฑกีวรรค 7. อสัปปุริสทานสูตร
4. เที่ยวจาริกไปในสถานที่ไม่สมควรตลอดกาลนาน
5. ไม่สามารถชี้แจงให้ภิกษุเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาตามกาลอันควร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ไม่ควรคบเป็นมิตร
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ควรคบเป็นมิตร
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ไม่ใช้ให้ทำการงาน
2. ไม่ก่ออธิกรณ์
3. ไม่โกรธต่อภิกษุผู้เป็นประธาน
4. ไม่เที่ยวจาริกไปในสถานที่ไม่สมควรตลอดกาลนาน
5. สามารถชี้แจงให้ภิกษุเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาตามกาลอันควร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ควรคบเป็นมิตร
มิตตสูตรที่ 6 จบ

7. อสัปปุริสทานสูตร
ว่าด้วยอสัปปุริสทาน
[147] ภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริสทาน (ทานของอสัตบุรุษ) 5 ประการนี้
อสัปปุริสทาน 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ให้โดยไม่เคารพ1
2. ให้โดยความไม่อ่อนน้อม2

เชิงอรรถ :
1 ให้โดยไม่เคารพ หมายถึงให้ทานโดยมิได้ทำเครื่องไทยธรรมให้สะอาดเสียก่อน (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/147/57)
2 ให้โดยความไม่อ่อนน้อม หมายถึงให้ทานด้วยความไม่เคารพ ไม่ยำเกรง (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/147/57)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :243 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 5. ติกัณฑกีวรรค 8. สัปปุริสทานสูตร
3. ไม่ให้ด้วยมือตนเอง
4. ให้ของที่เป็นเดน
5. ไม่เห็นผลที่จะพึงมาถึงก็ให้
ภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริสทาน 5 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน(ทานของสัตบุรุษ) 5 ประการนี้
สัปปุริสทาน 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ให้โดยเคารพ1
2. ให้โดยความอ่อนน้อม
3. ให้ด้วยมือตนเอง
4. ให้ของที่ไม่เป็นเดน
5. เห็นผลที่จะพึงมาถึงจึงให้2
ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน 5 ประการนี้แล
อสัปปุริสทานสูตรที่ 7 จบ

8. สัปปุริสทานสูตร
ว่าด้วยสัปปุริสทาน
[148] ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน 5 ประการนี้
สัปปุริสทาน 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ให้ทานด้วยศรัทธา
2. ให้ทานโดยเคารพ

เชิงอรรถ :
1 ให้โดยเคารพ หมายถึงให้โดยเคารพทั้งในไทยธรรมและในพระทักขิไณยบุคคล (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/147/57)
2 เห็นผลที่จะพึงมาถึงจึงให้ หมายถึงเชื่อกรรมและผลของกรรมแล้วให้ทานด้วยคิดว่า “ทานนี้จักเป็นปัจจัย
แห่งความมีในอนาคต” (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/147/57)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :244 }