เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 5. ติกัณฑกีวรรค 4. ติกัณฑกีสูตร
5. ภิกษุพึงเว้นสิ่งทั้งสองนั้น คือสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มี
อุเบกขา1 มีสติสัมปชัญญะอยู่ตามกาลอันควร
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า
“ความกำหนัดในธรรมที่เป็นเหตุให้กำหนัด อย่าเกิดขึ้นแก่เรา”
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า
“ความขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง อย่าเกิดขึ้นแก่เรา”
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจ
ประโยชน์อะไร
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจ
ประโยชน์นี้ว่า “ความกำหนัดในธรรมที่เป็นเหตุให้กำหนัดอย่าเกิดขึ้นแก่เรา ความ
ขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง อย่าเกิดขึ้นแก่เรา”
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจ
ประโยชน์อะไร
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจ
ประโยชน์นี้ว่า “ความขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง อย่าเกิดขึ้นแก่เรา
ความกำหนัดในธรรมเป็นเหตุให้กำหนัด อย่าเกิดขึ้นแก่เรา”

เชิงอรรถ :
1 เป็นผู้มีอุเบกขา ในที่นี้หมายถึงดำรงอยู่ในสภาวะที่เป็นกลาง กล่าวคือมีปกติภาวะที่บริสุทธิ์ไม่ดีใจไม่เสีย
ใจในอารมณ์ทั้ง 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่
น่าปรารถนา) และที่เป็นอนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา) อุเบกขานี้เรียกว่า ฉฬังคุเบกขา เป็น
เหมือนอุเบกขาของพระขีณาสพ แต่มิใช่อุเบกขาของพระขีณาสพ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/144/56, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา
3/144-6/61, วิสุทธิ. 1/84/174)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :240 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 5. ติกัณฑกีวรรค 5. นิรยสูตร
ภิกษุพึงเว้นสิ่งทั้งสองนั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร
ภิกษุพึงเว้นสิ่งทั้งสองนั้น คือสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า “ความกำหนัดในธรรมที่เป็น
เหตุให้กำหนัดในอารมณ์ไหน ๆ ในส่วนไหน ๆ แม้มีประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา
ความขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง ในอารมณ์ไหน ๆ ในส่วนไหน ๆ แม้มี
ประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ความหลงในธรรมที่เป็นเหตุให้หลง ในอารมณ์ไหน ๆ
ในส่วนไหน ๆ แม้มีประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา”
ติกัณฑกีสูตรที่ 4 จบ

5. นิรยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ตกนรก
[145] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมดำรงอยู่ใน
นรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
2. เป็นผู้ลักทรัพย์
3. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
4. เป็นผู้พูดเท็จ
5. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :241 }