เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 5. ติกัณฑกีวรรค 3. สารันททสูตร
พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพแล้วได้เสด็จเข้าไปยังสารันททเจดีย์
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้ตรัสถามเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า
“เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย เวลานี้ พวกท่านนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร พูดเรื่อง
อะไรค้างไว้”
เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลาย
นั่งประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ ได้สนทนากันว่า ‘ความปรากฏแห่งแก้ว 5 ประการ หาได้
ยากในโลก
ความปรากฏแห่งแก้ว 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความปรากฏแห่งช้างแก้ว หาได้ยากในโลก
2. ความปรากฏแห่งม้าแก้ว หาได้ยากในโลก
3. ความปรากฏแห่งมณีแก้ว หาได้ยากในโลก
4. ความปรากฏแห่งนางแก้ว หาได้ยากในโลก
5. ความปรากฏแห่งคหบดีแก้ว หาได้ยากในโลก
ความปรากฏแห่งแก้ว 5 ประการนี้ หาได้ยากในโลก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเป็นผู้มุ่งกาม1จริงหนอ สนทนากัน
แต่เรื่องกาม เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว 5 ประการ หาได้ยากในโลก
ความปรากฏแห่งแก้ว 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หาได้ยากในโลก
2. บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ หาได้ยากในโลก
3. บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ซึ่งผู้อื่นแสดงแล้ว หาได้
ยากในโลก

เชิงอรรถ :
1 กาม ในทีนี้หมายถึงวัตถุกามและกิเลสกาม (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/143/56)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :238 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 5. ติกัณฑกีวรรค 4. ติกัณฑกีสูตร
4. บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ซึ่งผู้อื่นแสดงแล้ว เป็นผู้
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม1หาได้ยากในโลก
5. กตัญญูกตเวทีบุคคล2หาได้ยากในโลก
เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว 5 ประการนี้แล หาได้ยากในโลก
สารันททสูตรที่ 3 จบ

4. ติกัณฑกีสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ป่าติกัณฑกีวัน
[144] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าติกัณฑกีวัน เขตเมือง
สาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย
1. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล3ตามกาลอันควร
2. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูล4ตามกาลอันควร
3. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูล ตามกาลอันควร
4. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล ตามกาล
อันควร

เชิงอรรถ :
1 ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึงปฏิบัติข้อปฏิบัติเบื้องต้นพร้อมทั้งศีล เพื่อบรรลุโลกุตตรธรรม 9
ประการ คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/143/56)
2 กตัญญูกตเวทีบุคคล หมายถึงบุคคลที่รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแก่ตนแล้วกระทำปฏิการคุณตอบแทน
พร้อมทั้งประกาศเกียรติคุณให้ปรากฏ (องฺ.ติก.อ. 2/115/261)
3 มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล หมายถึงมีความกำหนดหมายในอารมณ์ที่น่าปรารถนาว่าเป็นสิ่งไม่งาม
หรือพิจารณาเห็นว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยง (ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. 3/144/56)
4 มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูล หมายถึงมีความกำหนดหมายในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาว่าเป็นสิ่งที่
ควรแผ่เมตตา และพิจารณาเห็นว่าเป็นเพียงธาตุ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/144/56)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :239 }