เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 5. ติกัณฑกีวรรค 2. อารภติสูตร
บุคคลผู้เขลา หลงงมงาย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่รู้กุศลธรรมและอกุศลธรรม ไม่รู้ธรรมที่มีโทษ
และธรรมที่ไม่มีโทษ ไม่รู้ธรรมที่เลวและธรรมที่ประณีต ไม่รู้ธรรมดำและธรรมขาว1
บุคคลผู้เขลาหลงงมงาย เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 5 จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
อวชานาติสูตรที่ 1 จบ

2. อารภติสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ต้องอาบัติ
[142] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 5 จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 5 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติ2 มีวิปปฏิสาร (ความร้อนใจ)
และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ3 ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง

เชิงอรรถ :
1 ธรรมดำ หมายถึงกายทุจริตเป็นต้น ธรรมขาว หมายถึงกายสุจริตเป็นต้น (สํ.ม.อ. 3/31-34/196,
ขุ.ธ.อ. 4/45-47)
2 ต้องอาบัติ (อารภติ) ฎีกาอธิบายว่า อารมฺภ ศัพท์ มีความหมายหลายนัยดังนี้ คือ (1) มีความหมายว่า
กรรม เช่น ประโยคว่า “ยํ กิญฺจิ ทุกฺขํ สมฺโภติ สพฺพํ อารมฺภปจฺจยา” แปลว่า “ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง
เกิดขึ้น ทุกข์นั้นทั้งหมดย่อมเกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย” (ขุ.สุ. 25/750/481) (2) มีความหมายว่า
กิริยา เช่น ประโยคว่า “มหารมฺภา มหายญฺญา น เต โหนฺติ มหปฺผลา” แปลว่า “มหายัญที่มีกิริยา
มากเหล่านั้น ย่อมไม่มีผลมาก” (สํ.ส. 15/120/92, องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/39/64) (3) มีความหมายว่า
เบียดเบียน เช่น ประโยคว่า “สมณํ โคตมํ อุทฺทิสฺส ปาณํ อารภนฺติ” แปลว่า “ย่อมเบียดเบียนสัตว์อุทิศ
พระสมณโคดม” (ม.ม. 13/52/34) (4) มีความหมายว่า เพียร เช่น ประโยคว่า “อารมฺภถ นิกฺขมถ, ยุญฺชถ
พุทฺธสาสเน” แปลว่า “ท่านทั้งหลายจงเพียร จงออก จงประกอบในพระพุทธศาสนา” (สํ.ส. 15/185/188)
(5) มีความหมายว่า พราก เช่น ประโยคว่า “พีชคามภูตคามสมารมฺภา ปฏิวิรโต โหติ” แปลว่า “เว้นขาด
จากการพรากพืชคาม และภูตคาม” (ที.สี. (แปล) 9/10/4, ม.มู. 12/293/257) (6) มีความหมายว่า
ต้องอาบัติ เช่น ประโยคว่า “อารภติ จ วิปฺปฏิสารี จ โหติ” แปลว่า “บุคคลต้องอาบัติและมีวิปปฏิสาร”
(องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/142/234, อภิ.ปุ. (แปล) 36/191/218)
เพราะฉะนั้นในที่นี้ จึงแปลว่า ต้องอาบัติ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/142-143/59)
3 เจโตวิมุตติ หมายถึงอรหัตตสมาธิ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงอรหัตตผลญาณ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/142/55)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :234 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 5. ติกัณฑกีวรรค 2. อารภติสูตร
2. บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติ แต่ไม่มีวิปปฏิสาร ไม่รู้ชัด
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
3. บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ไม่ต้องอาบัติ แต่มีวิปปฏิสาร และไม่รู้
ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
4. บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ไม่ต้องอาบัติ และไม่มีวิปปฏิสาร แต่ไม่
รู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
5. บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ไม่ต้องอาบัติ ไม่มีวิปปฏิสาร และรู้ชัด
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาบุคคล 5 จำพวกนั้น1 บุคคลใดต้องอาบัติ มีวิปปฏิสาร
และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้วตามความเป็นจริง บุคคลนั้นพึงเป็นผู้ควรถูกกล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า ‘อาสวะที่
เกิดเพราะความการต้องอาบัติของท่านยังมีอยู่ อาสวะที่เกิดเพราะวิปปฏิสารของท่าน
ยังเจริญอยู่ ขอท่านจงละอาสวะที่เกิดเพราะการต้องอาบัติ2 จงบรรเทาอาสวะที่เกิด
เพราะวิปปฏิสารแล้วจึงเจริญจิตและปัญญา3 เพราะการเจริญ อย่างนี้ ท่านก็จักเป็น
ผู้ทัดเทียมกับบุคคลจำพวกที่ 54 โน้น’ (1)

เชิงอรรถ :
1 ดู อภิ.ปุ. (แปล) 36/191/218
2 ละอาสวะที่เกิดเพราะการต้องอาบัติ หมายถึงละอาสวะทั้งหลายที่เกิดเพราะการล่วงละเมิดสิกขาบทที่
ทรงบัญญัติไว้ ด้วยการแสดงอาบัติเบา (เทสนาวิธี) หรือวิธีปฏิบัติเพื่อเปลื้องตนจากอาบัติหนักขั้นสังฆาทิเสส
(วุฏฐานวิธี) (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/142/56)
3 เจริญจิตและปัญญา หมายถึงเพิ่มพูนวิปัสสนาจิต และเพิ่มพูนปัญญาที่ประกอบด้วยวิปัสสนาจิต (องฺ.
ปญฺจก.อ. 3/142/56)
4 บุคคลจำพวกที่ 5 ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/142/56)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :235 }