เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 4. ราชวรรค 9. อักขมสูตร
ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว กำหนัดในรูปที่เป็นเหตุให้กำหนัด
ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป เป็นอย่างนี้แล (1)
ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ฟังเสียงทางหูแล้ว กำหนัดในเสียงที่เป็นเหตุให้กำหนัด
ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียง เป็นอย่างนี้แล (2)
ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว กำหนัดในกลิ่นที่เป็นเหตุให้
กำหนัด ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่น เป็นอย่าง
นี้แล (3)
ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรส เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว กำหนัดในรสที่เป็นเหตุให้กำหนัด
ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรส เป็นอย่างนี้แล (4)
ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว กำหนัดในโผฏฐัพพะที่
เป็นเหตุให้กำหนัด ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ
เป็นอย่างนี้แล (5)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ไม่ควรแก่ของต้อนรับ ไม่ควรแก่ทักษิณา ไม่ควรแก่การทำอัญชลี
ไม่เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ 5 ประการ เป็นช้าง
ควรแก่พระราชา ควรเป็นช้างต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :226 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 4. ราชวรรค 9. อักขมสูตร
องค์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ช้างของพระราชา
1. เป็นสัตว์อดทนต่อรูป
2. เป็นสัตว์อดทนต่อเสียง
3. เป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่น
4. เป็นสัตว์อดทนต่อรส
5. เป็นสัตว์อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรูป เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว เห็นกองทัพช้าง กองทัพม้า
กองทัพรถ หรือกองทัพพลเดินเท้า ก็ไม่หยุดนิ่ง ไม่หวั่นไหว สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรูป เป็นอย่างนี้แล (1)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อเสียง เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ได้ยินเสียงกองทัพช้าง กอง
ทัพม้า กองทัพรถ กองทัพพลเดินเท้า หรือเสียงกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ มโหระทึก
ที่กระหึ่ม ก็ไม่หยุดนิ่ง ไม่หวั่นไหว สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ ช้างของพระราชาเป็น
สัตว์อดทนต่อเสียง เป็นอย่างนี้แล (2)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่น เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ได้กลิ่นมูตรและคูถของช้าง
พระราชา (ฝ่ายข้าศึก) ที่ใหญ่กว่าซึ่งเข้ามาสู่สมรภูมิ ก็ไม่หยุดนิ่ง ไม่หวั่นไหว
สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่น เป็นอย่างนี้แล (3)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรส เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ไม่ได้กินอาหารแม้เพียง
1 คืน 2 คืน 3 คืน 4 คืน หรือ 5 คืน ก็ไม่หยุดนิ่ง ไม่หวั่นไหว สามารถเข้า
สู่สมรภูมิได้ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรส เป็นอย่างนี้แล (4)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :227 }