เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 4. ราชวรรค 5. ปฐมปัตถนาสูตร
จะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล ไฉนเราจะไม่ปรารถนาราชสมบัติเล่า
เราเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก ไฉนเราจะไม่ปรารถนา
ราชสมบัติเล่า เราเป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระมารดาและพระบิดา ไฉนเราจะ
ไม่ปรารถนาราชสมบัติเล่า เราเป็นที่รักเป็นที่พอใจของชาวนิคมและชาวชนบท ไฉน
เราจะไม่ปรารถนาราชสมบัติเล่า เราเป็นผู้ได้ศึกษาสำเร็จดีในศิลปศาสตร์ของ
กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว เช่นศิลปศาสตร์เรื่องช้าง ม้า รถ ธนู หรือดาบ
ไฉนเราจะไม่ปรารถนาราชสมบัติเล่า’
พระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ประกอบด้วย
องค์ 5 ประการนี้แล ย่อมปรารถนาราชสมบัติ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ก็ปรารถนาความสิ้น
อาสวะ ฉันนั้น เหมือนกัน
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า ‘แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ
ผู้มีพระภาค’
2. เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อย
อาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การ
บำเพ็ญเพียร
3. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริงใน
ศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
4. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้ง
หลายอยู่
5. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็น
ทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :219 }