เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 4. ราชวรรค 4. ยัสสังทิสังสูตร
ภิกษุ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ทรงธรรม เป็น
ธรรมราชา ฯลฯ มีธรรมเป็นใหญ่ ครั้นทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครอง
ภิกษุทั้งหลายโดยธรรม ภิกษุณีทั้งหลาย ... อุบาสกทั้งหลาย ... อุบาสิกาทั้งหลาย
โดยธรรมแล้ว จึงทรงให้ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมหมุนไปโดยธรรมเท่านั้น จักร1นั้นอัน
สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้”
ธัมมราชาสูตรที่ 3 จบ

4. ยัสสังทิสังสูตร
ว่าด้วยทิศที่กษัตริย์ใช้ประทับ
[134] ภิกษุทั้งหลาย กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว2 ทรงประกอบ
ด้วยองค์ 5 ประการ จะประทับอยู่ ณ ทิศใด ๆ ก็เหมือนกับประทับอยู่ในแคว้น
ของพระองค์เอง
องค์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
กษัตราธิราชในโลกนี้
1. ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงมีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระมารดาและฝ่าย
พระบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ3 ไม่มีใคร
จะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
2. ทรงเป็นผู้มั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์มาก มีพระราชสมบัติมาก มี
พระฉางและพระคลัง4บริบูรณ์

เชิงอรรถ :
1 จักร ในที่นี้หมายถึงธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่พระพุทธองค์ทรงให้หมุนไปด้วยนวโลกุตตรธรรม 9 ประการ
อันใคร ๆ ไม่สามารถให้หมุนกลับได้ (องฺ.ติก.อ. 2/14/89)
2 มูรธาภิเษก หมายถึงน้ำรดพระเศียรในงานราชาภิเษกหรือพระราชพิธีอื่น ๆ (พจนานุกรม ฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525)
3 เจ็ดชั่วบรรพบุรุษ หมายถึงวิธีนับลำดับบรรพบุรุษแบบหนึ่ง เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ของวงศ์ตระกูลโดย
นับจากปัจจุบันขึ้นไป 7 ชั้น (ที.สี.อ. 303/252-253)
4 พระฉาง (โกสะ) ในที่นี้หมายถึงกองกำลัง 4 เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลคนเดินเท้า (องฺ.ปญฺจก.อ.
3/134/52, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/134/56)
พระคลัง (โกฏฐาคาร) หมายถึงพระคลัง 3 ชนิด คือ พระคลังเก็บทรัพย์ พระคลังเก็บข้าวเปลือก และ
พระคลังเก็บผ้า (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/134/52, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/134/56)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :216 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 4. ราชวรรค 4. ยัสสังทิสังสูตร
3. ทรงมีกำลังพล ประกอบด้วยกองทัพทั้ง 4 เหล่า เชื่อฟังและ
ทำตามที่ทรงรับสั่ง
4. ทรงเป็นปริณายก เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา สามารถคิด
เหตุการณ์ได้ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน
5. ทรงประกอบด้วยยศที่มีธรรม 4 ประการ นี้ทำให้เจริญ
กษัตราธิราชพระองค์นั้นจะประทับอยู่ ณ ทิศใด ๆ ก็เหมือนกับประทับอยู่ใน
แคว้นของพระองค์เอง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระองค์ทรงชนะได้เด็ดขาดแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะอยู่
ณ ทิศใด ๆ ก็เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นอยู่
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เหมือน
กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงสมบูรณ์ด้วยชาติ
2. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ เหมือนกษัตราธิราชผู้ได้รับ
มูรธาภิเษกแล้วทรงมั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์มาก มีพระราชสมบัติ
มาก มีพระฉางและพระคลังบริบูรณ์
3. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ เหมือนกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงสมบูรณ์
ด้วยกำลัง
4. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้ง
ความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ เหมือนกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงเป็น
ปริณายก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :217 }